กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10127
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension on safe vegetable production of farmers in Nakhon Chai Si District, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุวัฒน์ อยู่สงค์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตผักของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัย 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ผลิตผักอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ปีการเพาะปลูก 2562/63 จำนวน 520 ราย คำนวนโดยสูตรของทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 147 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.38 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. มีพื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 2.95 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 14.90 ปี มีแรงงานเฉลี่ย 3.15 คน มีรายได้จากผลิตผักปลอดภัยเฉลี่ย 18,692.22 บาท/รอบการผลิต/ไร่ มีต้นทุนการผลิตผักปลอดภัยเฉลี่ย 3,772 บาท/รอบการผลิต/ไร่ 2) เกษตรกรปลูกผักกวางตุ้งมากที่สุด โดยมีการไถพรวนดิน 1 ครั้งต่อรอบการผลิต แล้วตากดินไว้ 7 วันเพื่อให้เกิดการร่วนซุยของดิน 3) เกษตรกรมีความรู้มากเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยเรื่องการแช่เมล็ดพันธุ์ผักในน้ำอุ่นเพื่อลดปริมาณเชื้อโรค 4) ความต้องการส่งเสริมผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน การปลูก การให้น้ำ และการให้ปุ๋ย 5) ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรด้านความรู้ด้านการผลิต ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ควรอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยตรง และควรมีการบูรณาการในการอบรม ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10127
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165200.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons