กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10128
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการกลุ่มผู้ทอผ้าไหมในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines on the management of the silk production group in Chonnabot district, Khon Kaen Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัธยา นักทำนา, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร
ผ้าไหม--ไทย--ขอนแก่น
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและสภาพการผลิตผ้าไหมของเกษตรกรผู้ทอผ้าไหมใน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 2) การจัดการกลุ่มทอผ้าไหม 3) ความพึงพอใจของเกษตรกรในการจัดการกลุ่มทอผ้าไหม 4) ปัญหาของเกษตรกรในการจัดการกลุ่มทอผ้าไหม 3) ความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการกลุ่มทอผ้าไหม ประชากรที่คึกษา คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ทอผ้าไหมในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยมีเกษตร รวมทั้งหมด 466 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 142 ราย โดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ทําการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.847 วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 99.3 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.99 ปี ร้อยละ 94.4 มีอาชีพหลักของครัวเรือนคือเกษตรกร ทั้งหมดมีอาชีพรองของครัวเรือนคือปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าไหม ร้อยละ 85.2 เป็นคณะกรรมการกลุ่ม โดยเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน จากภาคการเกษตร 10,396.48 บาท จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 399.29 บาท และจากการทอผ้าไหม 8,873.24 ร้อยละ 98.6 มีประสบการณ์ในการทอผ้าไหมเฉลี่ย 23.18 ปี 2) การจัดการกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ร้อยละ 67.0 มีการตัดสินใจเรื่องการจัดการกลุ่มเป็นลักษณะการตัดสินใจร่วมกัน ร้อยละ 31.6 มีคณะกรรมการของกลุ่มทำหน้าที่ในเรื่องการวางกฎระเบียบ ร้อยละ 34.9 มีหน่วยงานศูนย์หม่อนไหมเป็นหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดการกลุ่ม ร้อยละ 88.8 มีวัตถุดิบที่ได้จากกลุ่มผลิตเอง ร้อยละ 96.5 มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตเพียงพอ ร้อยละ 59.2 ขายปลีก 3) ความพึงพอใจของสมาชิกในการจัดการกลุ่มทอผ้าไหมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ การจัดการด้านการเงิน การจัดการผลิต การจัดการด้านการตลาด ตามลำดับโดยประเด็นที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ กลุ่มของท่านมีการตรวจตรวจสอบการเงินได้อย่างสามารถโปร่งใส 4) เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการกลุ่มทอผ้าไหมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านวิธีการส่งเสริม อยู่ในระดับมาก และมีปัญหาด้านการสนับสนุนและปัญหาด้านประเด็นการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นที่มีปัญหาสูงสุด คือ ภาคการศึกษาดูงานนอกสถานที่ 5) เกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการกลุ่มทอผ้าไหมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการสนับสนุน และด้านประเด็นการส่งเสริม โดยประเด็นที่มีความต้องการสูงสุด คือ ควรมีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165528.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons