กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10129
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี จังหวัดสุรินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of a cholangiocarcinoma preventive behavior development program for risk group at Ban Yang Bo-E Tambon Health Promoting Hospital, Surin Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล บังอร พิมพ์จันทร์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มุกดา หนุ่ยศรี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ ท่อน้ำดี--มะเร็ง--การดูแลและสุขวิทยา พฤติกรรมสุขภาพ--ไทย--สุรินทร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ระหว่างก่อนและหลังทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และ (2) เปรียบเทียบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ หลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งท่อน้ำดี อายุระหว่าง 35-60 ปี มีท่อน้ำดีหนาระดับปานกลางและระดับมาก จำนวน 59 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในการคัดเข้าศึกษาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน และจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเรือ เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน โดยให้ทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้านอายุ และระดับความหนาของท่อน้ำดี เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีกลุ่มเสี่ยงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน (1) ข้อมูลทั่วไป (2) พฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.96 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.79 และ (3) ผลการตรวจพยาธิใบไม้ตับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบที สถิติการทดสอบวิลคอกซันแมทซ์แพร์ซายน์แรงค์ และสถิติการทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงกว่าก่อนทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีด้านการรับประทานอาหารสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10129 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
165477.pdf | เอกสาณฉบับเต็ม | 21.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License