กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10139
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for the quality soybean production of farmers in Doi Luang district, Chiang Rai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สนัญชญา โสภา, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--เชียงราย
ถั่วเหลือง--การผลิต--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และการได้รับความรู้ในการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพของเกษตรกร 3) การปฏิบัติในการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพของเกษตรกร 5) ความต้องการแนวทางการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลือง และขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2561/2562 จำนวน 620 ครัวเรือน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้ 154 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 59.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.74 ปี ร้อยละ 72.7 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 11.74 ปี ร้อยละ 98.1 ได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านการผลิตถั่วเหลืองจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 13.30 ไร่ พื้นที่ผลิตถั่วเหลือง 5.59 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.18 คน รายได้จากการผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 4,181.17 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,186.36 บาทต่อไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ย 270.55 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพในระดับมาก ประเด็นที่เกษตรกรตอบผิดมากที่สุด คือ การผลิตบางขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารและการบันทึกข้อมูล โดยได้รับความรู้ในการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพที่ผ่านมาเฉลี่ย 1.44 ครั้ง 3) สภาพการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีพบว่าเกษตรกรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่เกษตรกรไม่ได้ปฏิบัติมากที่สุดคือ การเก็บตัวอย่างน้ำและดินไปสุ่มตรวจ 1) ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพอยู่ในระดับน้อย ประเด็นที่เกษตรกรมีปัญหามากที่สุด คือ แหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพด้านต่างๆ อยู่ในระดับมากทั้งด้านเนื้อหาการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพและวิธีการส่งเสริม 5) เกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพด้านเนื้อหาการผลิตถั่วเหลืองคุณภาพในระดับมากทุกประเด็น ส่วนด้านวิธีการส่งเสริมเกษตรกรต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มบุคคลในระดับมาก การส่งเสริมแบบบุคคลต่อบุคคล และแบบมวลชนในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10139
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165005.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons