กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10142
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting purchasing decision ORA GOOD CAT electric vehicle of consumers in Bangkok and Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อโณทัย งามวิชัยกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ตรีเพชร พัฒนจันทร์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
รถยนต์ไฟฟ้า--การจัดซื้อ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT (3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี (4) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรีจำแนกโดยปัจจัยส่วนบุคคล (5) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาหรือทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี จำนวน 5,377,764 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยการแจกแบบสอบถามและแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 32 – 37 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 25,001 – 35,000 บาท (2) มีระดับการให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT อยู่ในระดับที่น่าจะซื้อ (4) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษาและอาชีพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ORA GOOD CAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10142
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168774.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons