กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10147
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of an information management model for community-based research at Rajabhat Universities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจษฎา มิ่งฉาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การจัดระเบียบสารสนเทศ
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
สารสนเทศท้องถิ่น--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาสภาพการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (3) ศึกษาความต้องการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (4) พัฒนารูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แหล่งข้อมูลหลัก ประกอบด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2558 -2559 จำนวน 9,233 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย ผู้บริหาร นักวิจัย และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย จำนวน 72 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์รูปแบบ จำนวน 12 คน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเข้าร่วมในการทดลองรูปแบบจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 8 แห่ง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุดสามอันดับแรก สภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของท้องถิ่น และเปิดพื้นที่ให้คนในท้องถิ่นแสดงอัตลักษณ์ของตนเอง เนื้อหาการวิจัยเน้นด้านเศรษฐกิจชุมชน เผยแพร่ในเวทีชุมชน และการนำเสนอในการประชุมวิชาการ ส่วนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง 2) สภาพการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งมีการจัดการสารสนเทศงานวิจัยโดยมีระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานวิจัย แต่ยังไม่มีนโยบายด้านการจัดการสารสนเทศที่ชัดเจน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในฐานข้อมูลมีมาตรฐานแตกต่างกัน ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน และพบว่าไม่มีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏในการจัดการสารสนเทศแบบเป็นทางการ 3) ความต้องการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏจำแนกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการสารสนเทศในรูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างกันตามบริบทการทำงาน ผู้บริหารและนักวิจัยต้องการสารสนเทศงานวิจัยในรูปแบบสื่อดิจิทัลที่สืบค้นจากฐานข้อมูลได้ ส่วนชุมชนท้องถิ่นต้องการสารสนเทศในรูปแบบกระดาษและการถ่ายทอดตรงโดยบุคคล 4) รูปแบบการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เรียกว่า เนตพาส ประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ กลุ่มนักวิจัยตามสาขางานวิจัย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มนักวิจัยชุมชนแต่ละท้องถิ่น และมีกระบวนการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ประกอบด้วย การจัดทำนโยบายและแผนการจัดการข้อมูลการวิจัย การจัดระบบการจัดเก็บและค้นคืน การพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีการลงรายการตามมาตรฐาน การจัดบริการและการให้คำปรึกษาถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสม และผลการทดลองโดยการพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในระดับมาก และสามารถขยายผลสู่การนำไปใช้ในการจัดการสารสนเทศงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10147
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167049.pdfเอกสารฉบับเต็ม53.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons