Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10165
Title: | การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Development strategic planning of Wiang Nue Sub-district Administrative Organization, Pai District, Mae Hong Son Province |
Authors: | ลักษณา ศิริวรรณ ณรงค์เดช อัมพร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ--การบริหาร |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินการตามขั้นตอนการวางแผนและเนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555 - 2559) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ (2) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคของการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555 - 2559) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ และ (3) เสนอแนวทางพัฒนาการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ ที่มีความสอดคล้องกับหลักวิชาการ และเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์การและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ และท้องถิ่นอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง และกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการวางแผนยุทธศาสตร์มีการเก็บรวบรวมข้อมูลค่อนข้างครบถ้วน มีการวิเคราะห์ศักยภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือโดยใช้เทคนิคสวอท วิสัยทัศน์มีความชัดเจน พันธกิจสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ วัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายมีความชัดเจน ยุทธศาสตร์สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เป้าหมายและตัวชี้วัดสอดคล้องกับพันธกิจ รวมถึงมีการเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ให้ประชาชนทราบ (2) ปัญหา อุปสรรคในการวางแผนยุทธศาสตร์ พบว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลยังขาดข้อมูลที่แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ขาดกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงลึก ไม่มีผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่มีแผนที่ทางยุทธศาสตร์ รวมถึงบุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการวางแผน (3) แนวทางพัฒนาการวางแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ ควรใช้เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอื่นๆ ร่วมกับเทคนิคสวอท ควรจัดทำแผนที่ทางยุทธศาสตร์ ควรใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร รวมถึงเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนยุทธศาสตร์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10165 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
137486.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License