Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุนันทา คเชศะนันทน์, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T06:59:33Z-
dc.date.available2023-10-31T06:59:33Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10166-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และลักษณะการใช้ระบบการวางแผนกลยุทธ์ที่สมดุล ขององค์กรดังกล่าวในการบริหารเชิงกลยุทธ์ และ (2) นำแนวทางที่ได้จากการศึกษามาเทียบเคียงกับระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008 เพื่อให้ได้รูปแบบของการพัฒนาองค์กรจากระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 ไปสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ วิธีการศึกษา ใช้วิธีการสังเคราะห์เชิงคุณภาพโดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์กรณีศึกษาขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย (1) ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008 (2) ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สมดุล และ (3) การจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ส่วนกรณีศึกษาดำเนินการศึกษาข้อมูลของธุรกิจกระบวนการวางแผนและการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์กร 3 แห่งที่ได้รับรางวัล การบริหารสู่ความเป็นเลิศหรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ บริษัทไทยออยล์ จำกัด ( มหาชน) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย และสายงานท่อส่งก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการตามเกณฑ์ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ทั้ง 3 องค์กร มีการใช้เครื่องมือการบริหารจัดการที่หลากหลาย โดยเริ่มจากระบบ ISO 9001 และพัฒนาเข้าสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งใช้ระบบการวางแผนกลยุทธ์ที่สมดุล ในการกำหนดและกระจายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (2) รูปแบบของการบริหารในระบบ ISO 9001 ประกอบด้วยขั้นตอนที่สอดคล้องกับการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้ระบบการวางแผนกลยุทธ์ที่สมดุล แต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ ISO 9001 จำกัดเฉพาะมุมมองของการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการจัดการกระบวนการภายในขององค์กร ไม่ครอบคลุมถึงมุมมองในด้านของการเงิน และการเรียนรู้พัฒนา จึงนำเสนอรูปแบบเพื่อพัฒนาการบริหารตามระบบของ ISO เข้าสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้ ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สมดุล คือ ก) เพิ่มการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจในขั้นตอนของการกำหนดนโยบายตาม แบบของ ISO 9001 ข) เพิ่มเติมการใช้ข้อมูลทั้งภายนอก ภายในที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ และระบุจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการกำหนดนโยบาย และเป้าหมาย ค) ใช้ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สมดุล เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน และตัวชี้วัดให้ครอบคลุมมุมมองทั้ง 4 ประเด็นของระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สมดุล คือ ด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้พัฒนา และ ง) ใช้ ระบบการวางแผนกลยุทธ์ที่สมดุลในการถ่ายทอดกลยุทธ์ แผนงาน และตัวชี้วัดสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้จะต้องมีการติดตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อควบคุมแผนงานและกลยุทธ์ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectไอเอสโอ 9001th_TH
dc.subjectการควบคุมคุณภาพ--มาตรฐานth_TH
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 กับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeQuality management system ISO 9001:2008 in relation with strategic planning in TQA frameworken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were: (1) learning from the organization that successfully applied Thailand Quality Award (TQA) criteria into their management and the way the Balanced Scorecard (BSC) was used in the strategic management process; and (2) using the pattern from the learning to compare with ISO 9001:2008 to establish model for organization development from ISO 9001:2008 to strategic management according to TQA criteria. Quantitative synthesis is used for this study by reviewing related literatures and analyzing case study from the organization that successfully implemented TQA framework. Related literatures consisted of (1) ISO 9001:2008 (2) Balanced Scorecard (BSC) and (3) Strategic management in Thailand Quality Award frame work. For case study, 3 organizations which receiving Thailand Quality Class or Thailand Quality Award were selected as the following; Thai Oil Public Company Limited, CPF Public Company Limited; Pakthongchai Feed Mill and PTT Public Company Limited; Gas Transmission Pipeline. From the study, it was found that: (1) the organizations that successfully implemented Thailand Quality Award framework used various management tools to organize the business which started with ISO 9001 implementation and then develop to strategic management using Balanced Scorecard to determine and deploy strategies. (2) ISO 9001 management model consisted of processes that were complied with strategic management using BSC but difference in the limited perspective which focused only on customer requirements and internal processes. Therefore, the model for developing management processes from ISO 9001 to strategic management using Balanced Scorecard was determined as the following; a) added processes to determine vision and mission in policy determination of ISO 9001 b) included the use of external and internal data that effected the business together with the analysis of weakness, strength, opportunity and threats to determine policy and objectives c) use Balanced Scorecard as a tool to establish strategies, action plan and performance indicators to cover the 4 perspectives; financial, customer, internal processes and learning and growth , and d) use Balanced Scorecard to deploy strategies, action plan and performance indicators. Moreover, in order to achieve organization goals, the performance indicator must be followed up and controlled effectivelyen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_138461.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons