กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10174
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลโครงการการจัดตั้งจุดสกัดด่านเฝ้าระวังตรวจตรา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of interception checkpoint establishment project of Nongklagdong Subdistrict Administrative Organization, Thapthanp District, Uthaithani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กชพรรณ บำรุงรัตน์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ยาเสพติด--การควบคุม--ไทย
การค้ายาเสพติด--การควบคุม--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลโครงการจัดตั้งจุดสกัดด่านเฝ้าระวังตรวจตรา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี และ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการและเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลางดง เจ้าหน้าที่ตำรวจ/ปลัดอำเภอ (ฝ่ายปกครอง) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านและชุดปฏิบัติการจุดตรวจฯ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา (1) การประเมินผลโครงการ 1) ด้านบริบท พบว่า ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างดี และมีความชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชาติและระดับจังหวัด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไม่เพียงพอ และระยะเวลาดำเนินงานสั้นเกินไป 3) ด้านกระบวนการ พบว่า การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ แต่ขาดการประชุมชี้แจงส่วนการประสานงานระหว่างส่วนราชการ และผู้นำชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 4) ด้านผลผลิต พบว่า การแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบลหนองกลางดงหลังจากที่ได้ดำเนินงานแล้วเป็นไปในลักษณะเบาบางลง (2) ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ คือ ความไม่เพียงพอของงบประมาณ รวมทั้งขาดการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยเกินไป ซึ่งแนวทางในการพัฒนาโครงการ คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างส่วนราชการ ผู้นำ ชุมชน และชุดปฏิบัติจุดตรวจฯ รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_138810.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons