Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10187
Title: | ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการการคัดแยกขยะมูลฝอย 3R ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Effectiveness of 3R solid waste management model in Public Health Center, health department of Bangkok Metropolitan |
Authors: | ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ ชลลดา โพธิกะ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ขยะ--การจัดการ การกำจัดขยะ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบแผนวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการการคัดแยกขยะมูลฝอย 3R ในการลดปริมาณขยะในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2) ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการการคัดแยกขยะมูลฝอย 3R ของบุคคลากรศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และ (3) ปริมาณการใช้ขยะมูลฝอย 3 ชนิด (จำนวนชิ้น) ประกอบด้วย ถุงหูหิ้วพลาสติก แก้วพลาสติก และกล่องโฟม ของบุคลากร ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งคำนวณได้ทั้งหมด 95 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะมูลฝอยรูปแบบ 3R และติดตามบันทึกปริมาณการใช้ขยะด้วยแบบบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ PL1 ประกอบด้วย ถุงหูหิ้วพลาสติก แก้วพลาสติก และกล่องโฟม ระยะเวลาหลังการอบรม 6 เดือน (พ.ย.61 - เม.ย .62) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และรายงานผล คือ สถิติพรรณนา ค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความรู้ และเปรียบเทียบปริมาณการใช้ขยะมูลฝอย 3 ชนิด (จำนวนชั้น) ประกอบด้วย ถุงหูหิ้วพลาสติก แก้วพลาสติก และกล่องโฟม ของบุคลากร เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการขยะ ด้วยสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่ากลางของสองสองประชากรที่มีการกระจายแบบปกติแต่ไม่อิสระต่อกันผลการศึกษา พบว่า (1) หลังจากอบรมให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะมูลฝอยรูปแบบ 3R พบว่า รูปแบบการคัดแยกขยะมูลฝอย 3R ตลอดระยะเวลา 6เดือน มีประสิทธิผลสามารถลดปริมาณขยะเฉลี่ยลง + S.D เท่ากับ 5.45 +6.67 (ชิ้น) (p-value <(2) คะแนนความรู้เฉลี่ย + S.D เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.13 + 0.75 (คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ Mean difference = 1.13 (p-value < .001) waะ (3) ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ปริมาณการใช้ขยะรวม 3ชนิดเฉลี่ย (จำนวนวนชิ้น) ประกอบด้วย ถุงหูหิ้วพลาสติก แก้วพลาสติก และกล่องโฟม ลดลงต่อเนื่องทุกเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) การศึกษา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า หลักการการลดและนำของเสียมาใช้ประโยชน์ 3R (Reduce, Reuse, and Recycle) เป็นหลักการการลดขยะหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยจัดการคัดแยกขยะจากต้นทางแหล่งกำเนิดได้อย่างดี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่น ๆ ได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยลงได้แล้ว ยังทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสามารถลดมลพิษต่อโลกได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10187 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
162202.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License