กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10198
ชื่อเรื่อง: แนวคิดทางการเมืองของคณะ ร.ศ. 130
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political thought of the 130 ratanakosin era movement in Siam
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล  มุกดารัศมี
พีรพงศ์ หมู่ซัง, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงแนวคิดทางการเมืองของคณะ ร.ศ. 130 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดทางการเมืองของคณะ ร.ศ.130 เป็นแนวคิดเสรีนิยม คือ แนวคิดที่เห็นความสำคัญของเสรีภาพและความเสมอภาค ความตื่นรู้และการตระหนักถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองสยามไปสู่เสรีประชาธิปไตยที่อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดไปสู่การปกครองที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายมีอำนาจสูงสุด ทั้งนี้ บุคคลผู้เข้าร่วมคณะ ร.ศ.130 มีความเข้าใจในแนวคิดเสรีนิยม และจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ กลุ่มที่สองต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ คือ ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ ทั้งนี้ แนวคิดเสรีนิยมของคณะ ร.ศ. 130 เป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักการพื้นฐานของเสรีนิยมและประชาธิปไตยในสยามเป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองปกครองใน พ.ศ. 2455ในลักษณะการปฏิวัติ และถือเป็นการวางรากรากฐานแนวความคิดให้กับคณะราษฎรในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองสยามในอีก 20 ปีต่อมา คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10198
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149698.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons