Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเมษยา เอื้ออารีย์กุล, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-01T02:54:53Z-
dc.date.available2023-11-01T02:54:53Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10200-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาของความไม่เท่าเทียมตามทัศนะของรุสโซ ผลต่อมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ และผลกระทบอันเกิดขึ้นจากแนวคิดของรุสโซ วิธีดำเนินการวิจัย คือ วิเคราะห์ตัวบทอย่างละเอียดถึงประเด็นความไม่เท่าเทียม ในแนวคิดสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ก่อนเกิดสังคมการเมือง จากความเรียงว่าด้วย "ต้นกำเนิดและรากฐานแห่งความไม่เท่าเทียมกันของมวลมนุษยชาติ" ของรุสโซ ผ่านการตีความวรรณกรรมและรวบรวมข้อมูลเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง ศึกษาชีวประวัติ และการวิเคราะห์ตีความตัวบทผลการวิจัยพบว่า (1) ที่มาของความไม่เท่าเทียมในแนวคิดสภาวะธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ เริ่มอยู่กันเป็นครอบครัวและเริ่มมีการสังสรรค์รวมตัวกันหน้ากระท่อม โดยเริ่มมีการให้คุณค่าแก่คุณลักษณะใดลักษณะหนึ่ง จึงเริ่มเกิดความไม่เท่าเทียมขึ้น รวมถึงการที่มนุษย์คนหนึ่งคนแรกที่เริ่มต้นล้อมรั้วกั้นที่ดินและประกาศกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นผู้ก่อตั้งสังคมขึ้น เหล่านี้เป็นการสมมุติขึ้นเองภายในจิตใจของมนุษย์เอง จึงพบว่า "มนุษย์" นั่นเองที่เป็นผู้ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้น (2) ในทัศนะของรุสโซ เมื่อเกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้น ส่งผลให้มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติต้องพบกับความสุขอันจอมปลอม เกิดความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนให้คุณค่ามากจนต้องดิ้นรนเกินกว่าความสามารถของตนเอง (3) ผลกระทบอันเกิดขึ้นจากแนวคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาของรุสโซ คือ เขาเสนอให้มนุษย์สนใจแต่เจตจำนงของตนเอง โดยมิต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น จึงจะธำรงไว้ซึ่งความมีเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ในสังคมที่เกิดขึ้นใหม่ รุสโซจึงเสนอทฤษฎีสัญญาประชาคมโดยการแสดงเจตจำนงร่วม ส่วนทางด้านผลกระทบอันเกิดขึ้นจากแนวคิดของรุสโซที่มีต่อสังคมร่วมสมัยของเขาและสังคมในยุคต่อๆ มา เกิดจากการตีความแนวคิดของรุสโซคลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ที่เขาต้องการจะสื่อ ดังจะเห็นได้จากการวิจารณ์งานของรุสโซว่ามีความขัดแย้งกัน และเกิดการเชื่อมโยงแนวคิดของ คาร์ล มากซ์ กับ รุสโซ ในเรื่องชนชั้น ความไม่เท่าเทียม และความยุติธรรมทางสังคม หรือแม้แต่เชื่อมโยงกับแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ และผลอันเกิดจากการยอมรับแนวคิดสภาวะธรรมชาติของรุสโซ ผ่านปรากฏการณ์ของการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 แนวคิดเสรีประชาธิปไตย และการนำแนวคิดมาอ้างอิงในสังคมและการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมนุษย์กับสังคมth_TH
dc.titleแนวคิดว่าด้วยสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ก่อนเกิดสังคมการเมืองในความเรียงว่าด้วย "ต้นกำเนิดและรากฐานแห่งความไม่เท่าเทียมกันของมวลมนุษยชาติ" ของรุสโซth_TH
dc.title.alternativeThe idea of state of nature in Rousseau's Discourse on the origin and basis of inequality among menen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152248.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons