กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10204
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาหลักศิลป์เรื่ององค์ประกอบศิลปะ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network on the topic of composition of art in the principles of art course for students of the Faculty of Home Economic Technology, Rajamangala University of Technology Krungthep
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กำพล ดำรงวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุษา อภิพันธุ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
องค์ประกอบศิลป์--การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาหลักศิลป์ เรื่อง องค์ประกอบศิลปะ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย และ (3) ศึกษา ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1สาขาผ้าและเครื่องแต่งกาย-ธุรกิจ เสื้อผ้า คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย วิชาหลักศิลป์ เรื่ององค์ประกอบศิลปะ จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 2 ส่วนขององค์ประกอบศิลปะ หน่วยที่ 3 การจัดองค์ประกอบศิลปะ (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อการทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน และ (3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาประสิทธิภาพ โดยใช้ E,/E,การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ 80.77/80.66, 80.88/79 และ 81.78/82 ตามลำดับ (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษา มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ที่สร้างขึ้นและพัฒนาขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10204
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons