กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10210
ชื่อเรื่อง: การประเมินสมรรถนะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเรือนจำกลางอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Competency assessment of human resource management of Ubon Ratchathani Central Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
กตตน์ อินทรักษา, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เรือนจำกลางอุบลราชธานี
ทรัพยากรมนุษย์--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเรือนจำกลางอุบลราชธานี ตามกรอบมาตรฐานความสำเร็จ 5 ด้าน (2) ศึกษาจุดแข็ง-จุดอ่อน และปัญหา/อุปสรรค ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเรือนจำกลางอุบลราชธานีตามกรอบมาตรฐานความสำเร็จ 5 ด้าน และ (3) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเรือนจำกลางอุบลราชธานีตามกรอบมาตรฐานความสำเร็จ 5 ด้าน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประชากรทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ข้าราชการและพนักงานราชการจำนวน 140 คน ของเรือนจำกลางอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเรือนจำกลางอุบลราชธานี ตามกรอบมาตรฐานความสำเร็จทั้ง 5 ด้าน ผลโดยรวมอยู่ในระดับความสำเร็จมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (2) จุดแข็งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ มีการฝึกทบทวนบุคลากรด้าน การป้องกันและระงับเหตุร้ายในเรือนจำอย่างสม่ำเสมอ รองลงมาคือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยความร่วมมือของหน่วยงานภายนอกสนับสนุนวิทยากร จุดอ่อนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ อัตรากำลัง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ รองลงมาคือระบบเทคโนโลยีของเรือนจำยังใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน รองลงมาได้แก่ ปัญหาด้าน ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และปัญหาด้านประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (3) ข้อเสนอแนะสำคัญได้แก่ ควรปรับปรุงระบบบริหารผลงานให้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งจูงใจมากขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง นอกจากนั้น ควรจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรระดับผู้บังคับบัญชาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย รวมทั้งควรมีการพัฒนาการวางแผนกำลังคนอย่างเป็นระบบและเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10210
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_132436.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons