Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชำนาญ แก่นท้าว, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-11-01T06:07:14Z-
dc.date.available2023-11-01T06:07:14Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10215-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นของผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเกี่ยวกับระดับคุณภาพในการให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำกลางบางขวาง (2) เปรียบเทียบความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพในการให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำกลางบางขวาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเกี่ยวกับปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ที่มาเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง จำนวน 388 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็น รายคู่ด้วยวิธีความแตกต่างนัยสำคัญต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเกี่ยวกับระดับคุณภาพในการให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำกลางบางขวางในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้านกระบวนการในการให้บริการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับคุณภาพในการให้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้ที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่ผู้ที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และจำนวนครั้งที่มาเยี่ยมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาที่กลุ่มตัวอย่างพบเมื่อมาขอรับบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก คือ ที่พักญาติรอเยี่ยมผู้ต้องขังร้อนอบอ้าว เครื่องอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ และชำรุด ด้านกระบวนการให้บริการ คือ การขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามหรือสิ่งที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าไปในเรือนจำ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ คือ เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ และข้อเสนอแนะเพื่อให้การบริการดีขึ้น ได้แก่เจ้าหน้าที่ควรพูดจาสื่อสารกับญาติผู้ต้องขังอย่างสุภาพ ควรปรับปรุงที่พักญาติรอเยี่ยมผู้ต้องขัง และจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น เช่น พัดลม โต๊ะ เก้าอี้ ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามหรือสิ่งที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าไปในเรือนจำth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเรือนจำกลางบางขวางth_TH
dc.subjectนักโทษth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleคุณภาพในการให้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำกลางบางขวางth_TH
dc.title.alternativeQuality of services rendered to inmates' visitors at Bang-Kwang Prisonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) study opinions of inmates’ visitors on quality of services delivered to them at Bang–Kwang prison; (2) compare visitors’ opinions on quality of services delivered to them at Bang–Kwang prison categorized by personal factors (3) study visitors’ opinions on problems of services delivered to them at Bang–Kwang prison and recommend appropriate ways to improve the services. This research was a survey research. Samples were 388 inmates’ visitors at bang-Kwang prison. Accidental sampling method was applied. Instrument used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – Test, One - Way ANOVA analysis, and LSD. Research results revealed that (1) opinions of inmates’ visitors on quality of services delivered to them at Bang–Kwang prison were at highest level, with highest mean on service process and lowest mean on facilities aspect (2) when compare the opinions, it was found that visitors with different age had different opinions with level of statistical significance at 0.05, while no differences were found among opinions of visitors with different gender, education, occupation, income and visiting frequency (3) major problems were: on facilities aspect : too warm and uncomfortable waiting area, worn-out and insufficient facility furnishings, on service process : lack of public relations on prohibit items unable to bring into the prison, and on service personnel : the impolite conversation of officers with visitors, recommendations were: officers should realize the importance of politeness particularly in their communication with visitors, waiting area should be improved : putting in more and appropriate furnishings, electric fan, tables and chairs for example, and finally, public relations particularly announcement on prohibit items should be continuously carried onen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_132855.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons