Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10222
Title: | การกำหนดปริมาณการผลิตที่เหมาะสมสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์โดยใช้ตัวแบบการโปรแกรมเป้าหมาย |
Other Titles: | Using goal programming for optimal production of auto-parts manufacturing |
Authors: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ อรอุมา หัสชัย, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อหาปริมาณการผลิตหม้อลมเบรกที่เหมาะสมของบริษัทบ๊อช ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ทำให้กำไร ชั่วโมงทำงาน และสินค้าคงคลังในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม เบี่ยงเบนจากเป้าหมายน้อยที่สุด วิธีดำเนินการศึกษาเริ่มจาก การศึกษาข้อมูลและข้อจำกัดในการผลิตหม้อลมเบรก ศึกษาทฤษฎีการโปรแกรมเชิงเส้น การโปรแกรมเป้าหมาย และทฤษฎีการวางแผนการผลิต จากนั้นสร้างตัวแบบการโปรแกรมเป้าหมายเพื่อนำไปหาคำตอบที่ดีที่สุดโดยใช้โปรแกรม ลินโด ผลการศึกษา การใช้ตัวแบบการโปรแกรมเป้าหมายพบว่า ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม เดือนพฤษภาคม มีดังนี้ ผลิตภัณฑ์ชนิดที่1 9,493 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่2 1,211 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่3 1,272 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 4 2,365 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 5 467 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่6 2,984 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 7 942 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 8 237 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 9 31 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 10 ไม่มีการผลิต เดือนมิถุนายน มีดังนี้ ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 1 6,012 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 2 3,573 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่3 1,087 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 4 ไม่มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 5 440 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 6 3,174 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 7 876 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 8 620 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 9 86 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 10 ไม่มีการผลิต และเดือนกรกฎาคม มีดังนี้ ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 1 8,137 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 2 2,962 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 3 1,561 ชื้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 4 ไม่มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 5 360 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 6 3,384 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 7 684 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 8 675 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ 9 110 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ที่ 10 ไม่มีการผลิต โดยมี ค่าเบี่ยงเบนจากเป้าหมายน้อยที่สุด ดังนี้ เดือนพฤษภาคม กำไรต่ำกว่าเป้าหมาย 15,984 บาท ชั่วโมง การทำงานสูงกว่าเป้าหมาย 16 ชั่วโมงและสินค้าคงคลังสูงกว่าเป้าหมาย 35 ชิ้น เดือนมิถุนายน กำไรได้ตามเป้าหมาย ชั่วโมงการทำงานดีกว่าเป้าหมาย 11 ชั่วโมงและสินค้าคงคลังสูงกว่าเป้าหมาย 276 ชิ้น และเดือนกรกฎาคม กำไรต่ำกว่าเป้าหมาย 23,115 บาท ชั่วโมงการทำงานสูงกว่าเป้าหมาย 3 ชั่วโมงและสินค้าคงคลังสูงกว่าเป้าหมาย 215 ชิ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10222 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_134097.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License