Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10232
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
Other Titles: Factor affecting to the work life quality of the personnel in the elementary education Office of Nakhon Si Thammarat Area 4
Authors: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
น้อย ไทยราช, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 และ (4) เสนอแนะปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าที และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติในภาพรวมและรายด้านพบว่าบุคลากรมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโดยจำแนกตามเพศพบว่า เพศหญิงกับเพศชายมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส ตำแหน่งปัจจุบัน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน และสำหรับช่วงอายุ และรายได้ ที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) คุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมของบุคลากรพบว่า ความหลากหลายของงาน ความมี อัตลักษณ์ของงาน ความสำคัญของงาน ความมีอิสระในการทำงาน และการมีโอกาสรับรู้ผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.482, 0.639, 0.518, 0.557 และ 0.627 ตามลำดับ และ (4) ข้อเสนอแนะพบว่า หน่วยงานควรให้ความสำคัญเรื่องการพิจารณาค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมให้มีความเหมาะสมกับภาระงานที่ปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ควรจัดสรรเวลาให้บุคลากรได้จัดทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าตามศักยภาพ ควรส่งเสริมให้บุคลากรร่วมกันทำงานเป็นทีมมากยิ่งขึ้น ควรสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเองอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเพิ่มแหล่งเรียนรู้ในสถานที่ทำงานมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10232
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125008.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons