Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10246
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รสลิน ศิริยะพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | วราภรณ์ กันเกตุ, 2523- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-02T03:30:30Z | - |
dc.date.available | 2023-11-02T03:30:30Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10246 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินบทบาทของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทองกับการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาท (3) หาข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ข้าราชการที่สังกัดสำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 ราย (2) นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 3 ราย และ(3) ผู้น าชุมชนที่ ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมทางการเมือง จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทองดำเนินบทบาทในการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย ในลักษณะของการมุ่งเน้นกิจกรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมการสร้างจิตสำนึก ค่านิยมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบและเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองทุกระดับ การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง การสร้างองค์กรและภาคีเครือข่าย การสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาสังคม และการส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย (2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาท คือ ปัจจัยภายในของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง อาทิ เรื่องความรู้ ความสามารถของบุคลากร ปัจจัยภายนอกของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ ระบบอุปถัมภ์ การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน การขาดการประสานความร่วมมือในการบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาทมี 3 แนวทางที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองของประชาชน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง--กิจกรรมทางการเมือง | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การมีส่วนร่วมทางการเมือง | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.title | บทบาทของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทองกับการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | th_TH |
dc.title.alternative | Roles of the Angthong Province Cultural Office in promomtion of democratic form of government with the king as head of state | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
124607.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License