กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10255
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเงินบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation factorsfor financial employees of Thailand Post Company Limited in head office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุสรา ทองเกษร, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจูงใจของปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเงินบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ (2)เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเงินบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเงินบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือพนักงานฝ่ายการเงินที่ปฏิบัติงานในบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 137 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการจูงใจของปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีระดับการจูงใจสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก คือด้านค่าจ้างและความมั่นคงในงาน รองลงมา คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านความรับผิดชอบ ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านนโยบายขององค์การ ด้านสภาพการทำงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และต่ำที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความก้าวหน้า (2) พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือนที่ได้รับ และอายุการทำงานแตกต่างกันมีปัจจัยจูงใจทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีสถานภาพการสมรสแตกต่างกันมีปัจจัยจูงใจแตกต่างกันในด้านค่าจ้างและความมั่นคงในงานและพนักงานที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีปัจจัยจูงใจแตกต่างกันในด้านนโยบายขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผู้บริหารควรจูงใจพนักงานในด้านความก้าวหน้า โดยเปิดโอกาสและสนับสนุนให้พนักงานได้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ มีการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานทุกตำแหน่งและทุกคนอย่างเสมอภาคกัน และมีการกำหนดกรอบอัตราในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งตามความเหมาะสมกับจำนวนพนักงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10255
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128343.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons