Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10267
Title: | การศึกษาความเจ็บป่วยทางการเมืองในโลกทัศน์ของพยาบาล |
Other Titles: | Nursing's body of knowledge and political illness |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี วิเชียร สกุลพราหมณ์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การเมืองกับการศึกษา พยาบาล--แง่การเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง ความเจ็บป่วย--แง่การเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่ององค์ความรู้ทางการพยาบาลกับความเจ็บป่วยทางการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาวะทางการเมืองที่ถูกพิจารณาว่าเป็นความเจ็บป่วยด้วยองค์ความรู้ของพยาบาล (2) องค์ความรู้ทางพยาบาลที่นามาใช้ในการศึกษาความเจ็บป่วยทางการเมือง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งพรรณนาด้วยการตีความเชิงเปรียบเทียบของความรู้ทางด้านการเมืองและความรู้ทางด้านการพยาบาลที่อาศัยการวิเคราะห์จากเอกสาร ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการวิเคราะห์จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาวะทางการเมืองที่ถูกพิจารณาว่าเจ็บป่วยเมื่อใช้องค์ความรู้ทางการพยาบาลเกี่ยวกับวิวัฒนาการ แนวคิดทางการพยาบาล แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย ทำการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างการเมืองกับการพยาบาลเมื่อพิจารณาการพยาบาลเป็นเรื่องของการใช้อานาจอย่างหนึ่ง และเมื่อเปรียบการเมืองเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมือนร่างกายมนุษย์ การเมืองที่ดีจึงต้องเป็นการเมืองที่เป็นสุขภาวะเหมือนกับมนุษย์ โดยที่การเมืองต้องสามารถปรับตัวหรือรักษาดุลยภาพของระบบการเมืองและภาวะแวดล้อมไว้ให้ได้ เมื่อระบบการเมืองขาดความสมดุล หรือไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ จนการดำเนินการทางการเมืองเกิดปัญหาอุปสรรคนั้น จึงพิจารณาได้ว่าการเมืองมีภาวะเจ็บป่วย (2) องค์ความรู้ทางพยาบาลที่นำมาใช้ในการศึกษาความเจ็บป่วยทางการเมืองในปรากฏการณ์จลาจลแบ่งสีนั้น อาศัยความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาลในขั้นตอนการประเมิน และการวินิจฉัยการพยาบาล ทาการวิเคราะห์ พบว่า ด้านระบบการเมือง ด้านโครงสร้างและหน้าที่ของการเมือง เกิดความไม่สมดุล มีปัญหาอุปสรรค ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมจึงเปรียบเทียบได้ว่าการเมืองในช่วงดังกล่าวมีความเจ็บป่วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10267 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135757.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License