กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10269
ชื่อเรื่อง: | การแสดงบทบาททางการเมืองของประชาชนอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรพื้นที่ทำกินของรัฐภายหลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์กรณีที่ราชพัสดุ แปลง 505, 506 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political role of the peoplein Tha Pla District Uttaradit Province for the affecting of the space consumption of a state from the Sirikit Dam Building : a case study of the Royal Conversion package 505, 506 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธโสธร ตู้ทองคำ วริยาภรณ์ ขวัญวงศ์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมทางการเมือง--แง่สิ่งแวดล้อม การจัดสรรที่ดิน การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ศึกษากรณีการจัดสรรพื้นที่ทำกินของรัฐในที่ราชพัสดุอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ผลกระทบจากบทบาททางการเมืองของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ศึกษากรณีการจัดสรรพื้นที่ทำกินของรัฐในที่ราชพัสดุอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาสามวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประชาชนที่ ได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินของรัฐ จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 12 คน และนักการเมืองในจังหวัดอุตรดิตถ์ เขตอำเภอ ท่าปลา จำนวน 4 คน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาททางการเมืองของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์แบ่งได้ 6 รูปแบบ คือ การชุมนุมเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง การยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐ การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานความเป็นธรรมเกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกิน การรวมตัวของประชาชนเพื่อจัดตั้งเป็นเครือข่ายประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาที่ดินให้ประชาชน การส่งตัวแทนของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเข้าเป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐจังหวัดอุตรดิตถ์ และการเข้าร่วมการประชุมประชาคมเพื่อตรวจสอบสิทธิในที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ (2) ผลกระทบจากบทบาททางการเมืองของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ที่สำคัญ ได้แก่ รัฐให้ความสนใจในการนำปัญหาดังกล่าวไปแก้ไขมากขึ้น ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของรัฐ โดยการแต่งตั้งประชาชนผู้ได้รับผลกระทบร่วมเป็นคณะทำงานแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐจังหวัดอุตรดิตถ์ และเกิดการ บูรณาการการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินจากทุกภาคส่วน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10269 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139432.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License