Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10274
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการสนับสนุนพรรคการเมืองของผู้นำท้องที่ในจังหวัดนราธิวาส : ศึกษาเฉพาะผู้นำท้องที่ของอำเภอบาเจาะ |
Other Titles: | Factors that to supporting political party of local adminstrator in Narathiwat Province : especially studied of local administrator in Bacho District |
Authors: | ชรินทร์ สันประเสริฐ แวสะมะแอ เจ๊ะหะ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำชุมชน--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำท้องที่กับพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ของจังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ 4 เฉพาะอำเภอบาเจาะ (2) ศึกษาแรงจูงใจหรือปัจจัยที่มีต่อผู้นำท้องที่ในการพิจารณาสนับสนุนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ของจังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ 4 เฉพาะอำเภอบาเจาะ (3) ศึกษาบทบาทของผู้นำท้องที่ในการชี้นำหรือส่งเสริมให้ประชาชนในเขตปกครองของตนเลือกพรรคการเมืองที่ได้สนับสนุน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 52 คน ประกอบด้วย กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 46 คน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 4 ของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย (1) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำท้องที่กับพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ของจังหวัดนราธิวาสเขตเลือกตั้งที่ 4 เฉพาะอำเภอบาเจาะ พบว่า เป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ในระดับของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เล่นการเมืองมานาน ทั้งเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น และเคยช่วยงานของพรรคการเมืองมานาน ซึ่งจะต้องลงพื้นที่ เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องเกิดความสนิทสนมกัน(2) แรงจูงใจหรือปัจจัยที่มีต่อผู้นำท้องที่ในการพิจารณาสนับสนุนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ของจังหวัดนราธิวาสเขตเลือกตั้งที่ 4 เฉพาะอำเภอบาเจาะ พบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและอุดมการณ์ของพรรคเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ รู้จักเป็นการส่วนตัว เครือญาติกัน ผลงาน และเคยมีบุญคุณต่อกัน ส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ใช้แรงจูงใจหรือปัจจัยเช่นเดียวกันกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (3) บทบาทของผู้นำท้องที่ในการชี้นำหรือส่งเสริมให้กับประชาชนในเขตปกครองของตนเลือกพรรคการเมืองที่ได้สนับสนุนพบว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนใหญ่และเป็นจำนวนมาก เลือกที่ ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในการชี้นำและส่งเสริมโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งด้วยตนเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10274 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140818.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 31.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License