กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10276
ชื่อเรื่อง: ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องความรู้ด้านทัศนศิลป์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฎศิลป ในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of experience-based instructional packages on the concept of visual arts in the arts learning area for Mathayom Suksa I students in the College of Dramatic Arts in the Eastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
ธนพัต ธรรมเจริญพงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ทัศนศิลป์--การศึกษาและการสอน
ศิลปะ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ความรู้ด้านทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปในภาคตะวันออก ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องความรู้ด้านทัศนศิลป์และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนด้วยชุดการ สอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องความรู้ด้านทัศนศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลป จันทบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องความรู้ด้านทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ประกอบด้วย หน่วยประสบการณ์ที่ 1 การจัดนิทรรศการ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับทัศนศิลป์ หน่วยประสบการณ์ที่ 2 การสำรวจงานทัศนศิลป์ในประเทศไทย และหน่วยประสบการณ์ ที่ 5 การจัดองค์ประกอบในงานทัศนศิลป์ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่สร้างและพัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์มี ดังนี้ 74.80/ 73.87, 75.47/74.67 และ 75.00/77.20 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน แบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความ คิดเห็นว่าชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons