Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10286
Title: | บทบาทผู้นำทางการเมืองของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
Other Titles: | Role of political leader of General Prayuth Chan-ocha in the political development of democratic of government with the King as Head of State |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัตติยา ยินดีสังข์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำทางการเมือง--ไทย การพัฒนาทางการเมือง การพัฒนาประชาธิปไตย--ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงบทบาทความเป็นผู้นำ ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย (2) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงบทบาทผู้นำทางการเมืองต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดย การศึกษาจากแนวคิดความเป็นผู้นำทางการเมือง และดัชนีชี้วัดความเป็นผู้นำทางการเมือง เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กลุ่ม นักวิชาการ กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มผู้นำเกษตรกร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า มี 12 ด้าน โดยเรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ด้านวิสัยทัศน์ ความเฉลียวฉลาด และการคาดการณ์อนาคตด้านรูปแบบการใช้อำนาจ ทางการเมือง ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย กติกา มารยาททางการเมือง ด้านการใช้เหตุผลในการบริหารประเทศด้านความรับผิดชอบและความเสียสละของผู้นำทางการเมือง ด้านปัจจัยที่ไม่เอื้อหรือไม่สนับสนุนต่อบทบาทผู้นำทางการเมือง ด้านบทบาทที่เอื้อให้เกิดระบบการเมืองที่มีโครงสร้างแตกต่างและชำนาญการเฉพาะ ด้านการบูรณาการชาติ และด้านความคิดเห็นอื่น ๆ (2) สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงบทบาทผู้นำทางการเมืองที่มีต่อการพัฒนาการเมือง ได้แก่ ผู้นำควรมีความซื่อสัตย์สุจริตควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์ ควรมีการกล้าตัดสินใจ ควรมีการสื่อสารทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ และควรมีความเป็นประชาธิปไตยโดยมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดถือความคิดของตนเองเป็นหลัก พร้อมทั้งไม่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างแท้จริง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10286 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153314.pdf | เอกสาณฉบับเต็ม | 11.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License