Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10291
Title: | ปัญหาการใช้อำนาจของกำนันผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามคำสั่ง 22/2558 กรณีศึกษากำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี |
Other Titles: | Problems on authority of subdistrict and village headman in the National Council for Peace and Order (NCPO) in order no. 22/2558 : a case study of subdistrict and village headman in Tapya Subdistrict, In Buri District, Sing Buri Province |
Authors: | วรวลัญช์ โรจนพล วัฒนา จำปาดิบรัตนกุล, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำนัน--กิจกรรมทางการเมือง--ไทย--สิงห์บุรี ผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง--ไทย--สิงห์บุรี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งที่ 22/2558 (2) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งที่ 22/2558 และ (3) แนวทางแก้ปัญหาการใช้อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งที่ 22/2558 วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงรวม 18 คนได้แก่ ปลัดอำเภอ 2 คน กำนัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจตำแหน่งสารวัตร 2 คน และชาวบ้าน 8 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ วิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) กำนันผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจเพิ่มขึ้นตามคำสั่ง 22/2558 ได้แก่ (1.1) อำนาจในการตั้งด่านตรวจและยึดรถไว้ชั่วคราว (1.2) อำนาจในการตรวจตามสถานที่ ร้านค้า โรงงานหรือกิจการพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการแต่งรถ และตรวจสถานที่ ร้านค้า สถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดกิจการคล้ายสถานบริการ รวมทั้งที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสถานศึกษาหรือหอพักที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสถานศึกษา (1.3) เมื่อพบการกระทำการอันฝ่าฝืนกฎหมาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมิต้องทำรายงานเหตุดังที่ว่านั้นรายงานนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาและออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สั่งปิดและสั่งห้ามมิให้เปิดสถานที่ ร้านค้า โรงงาน กิจการพาณิชย์แล้วแต่กรณี (2) ปัญหาในการใช้อำนาจได้แก่ ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว และปัญหาของอำนาจที่ซ้ำซ้อนอยู่ในตัวของกำนันผู้ใหญ่บ้านเองคือเดิมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้นำมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน แต่กลับมีอำนาจที่ซ้อนมาเป็นอำนาจในการปราบปรามประชาชน และปัญหาเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการใช้อำนาจ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคือการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามผู้ฝ่าฝืนกฎหมายให้ชัดเจนโดยปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นอย่างสอดคล้องและไม่ขัดแย้ง อันได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ฝ่ายข่าว ออกตรวจตามสถานที่ต่างๆอย่างไม่เป็นทางการและแจ้งข้อมูลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10291 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
161958.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License