กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10293
ชื่อเรื่อง: การชนะการเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 เขตเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Electoral victory of Future Forward Party in general election on March 24th, 2019, in election zones of Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล
รัตนชัย จันทรานุชิต, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกตั้ง--ไทย--จันทบุรี
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สาเหตุที่พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ทุกเขตการเลือกตั้งในจังหวัดจันทบุรี 2) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ของพรรคอนาคตใหม่ในเขตการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง เฉพาะเจาะจงจากจำนวนประชากร 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรี กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้ปกครองท้องที่และ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1.) สาเหตุที่พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ทุกเขตการเลือกตั้งในจังหวัดจันทบุรี พบว่า บทบาทของหัวหน้าพรรคที่มีบุคลิกภาพที่เป็นคนรุ่นใหม่มีวิสัยทัศน์ การยุบพรรคไทยรักษาชาติ และการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งใหม่ทีกำหนดให้เลือกพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งเพียงพรรคเดียว 2.) การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ของพรรคอนาคตใหม่ในเขตการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่เน้นการใช้สื่อโซเซียลมีเดียในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ เพจเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคอื่นที่ใช้หัวคะแนน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น หรือเครือญาติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10293
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
164035.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons