Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10294
Title: บทบาทคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาเศรษฐกิจอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Role of village committee in economic development in Sichon District Nakhon Si Thammarat Province
Authors: วรวลัญช์ โรจนพล
วีระยุทธ ดำแก้ว, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาเศรษฐกิจ--แง่สังคม
การพัฒนาเศรษฐกิจ--ไทย--นครศรีธรรมราช
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทในด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สนับสนุนต่อการพัฒนาการเมือง (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเมือง (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้ง 9 ตำบล ตำบลละ 2 คน รวม 18 คน และกลุ่มบุคคลมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในระดับตำบล จาก 5 ใน 9 ตำบล โดยแต่ละตำบลมีข้าราชการ จำนวน 3 คน ประชาชน จำนวน 1 คน รวม 20 คน และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภออีก 5 คน รวมทั้งสิ้น 43 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ บทบาทด้านการส่งเสริมการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บทบาทด้านการพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพและสนับสนุนการฝึกอาชีพชุมชน บทบาทด้านส่งเสริมการผลิตและการตลาด เพื่อเสริมสร้างรายได้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน บทบาทด้านการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เครือข่ายอุตสาหกรรมและสถาบันศึกษาในการพัฒนาความรู้ และบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น ล้วนแล้วแต่สนับสนุนงานการเมือง ทั้งการสร้างสังคมประชาธิปไตย หรือการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการสร้างความยั่งยืนทางการเมือง หรือการสร้างพันธมิตรทางการเมือง หรือการเสริมบทบาททางการเมืองอื่น ๆ (2) ปัญหาอุปสรรค ปัญหาภายใน ได้แก่ การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือ มีความเหลื่อมล้ำกับขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และปัญหาภายนอก ได้แก่ การขาดการสนับสนุนจากนักการเมือง มีการแทรกแซงการปฏิบัติงานกับความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (3) แนวทางแก้ไข ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในหมู่บ้านด้วยการประสานประโยชน์ที่ลงตัวทั้งภายในและภายนอกพื้นที่โดยใช้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10294
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
164579.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons