กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10296
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเรื่องทันตสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 ในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A computer-based learning package via network in the health and physical education learning area on the topic of dental health for second level students in Bangkok Metropolis Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ แตงตาด
ณัฏฐชัย เบญจบริรักษ์กุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนิส ภู่คิริ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ทันตสุขศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเรื่องทันตสุขภาพ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2 ที่เรียนจากชุด การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ทันตสุขภาพ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องทันตสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนยุวทูตศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือก ตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย ต้นแบบชิ้นงาน คือชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 แบบทดสอบก่อน เรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่ มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหา ประสิทธิภาพโดยใช้ E,/E2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องทันตสุขภาพ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนมี ความก้าวหน้าทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อ ชุดการเรียนในระดับเหมาะสมมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10296
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons