กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10306
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behaviors on wooden furniture purchasing decision in Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดชีวี มณีวรรณ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องเรือน
การเลือกซื้อสินค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ลำปาง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง และ (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้จัดจำหน่ายในจังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ที่เคยซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ในจังหวัดลำปาง โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดต่ำกว่ามัธยมปีที่ 6 หรือ ปวช. สถานภาพสมรส สมาชิกในครอบครัว 1-2 คน รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน โดย (1) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ซื้อในงานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ ซื้อเพราะมีความทนทาน ซื้อในโอกาสเพื่อเป็นของขวัญ ซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ราคา 1,001-5,000 บาท นิยมซื้อไม้สัก ซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สำหรับห้องรับแขก และชำระด้วยเงินสด (2) ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการจัดจำหน่าย และ (3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการควรมีการปรับปรุงด้านผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก โดยการเลือกไม้ที่นำมาผลิตควรเป็นไม้สัก และเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นควรมีการผลิตออกมาจำหน่ายมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10306
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128650.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons