กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10314
ชื่อเรื่อง: การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และบทบาททางการเมืองของพลตรีบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The access to policical position and political role of Major General Bunaier Prasertsuwan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณา แย้มโสภี, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
สภาผู้แทนราษฎร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองและบทบาททางการเมืองของพลตรีบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ (2) การดำรงตำแหน่งทางการเมืองและบทบาททางการเมืองของ พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองและบทบาททางการเมืองของ พลตรีบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ (1.1) ช่วงก่อนเข้าสู่การเมือง โดยการมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมทางการเมืองในบางด้าน เช่น การเลือกตั้ง (1.2) ช่วงการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง โดยเริ่มจากการสมัครเป็นนักการเมืองท้องถิ่น และทำให้มีโอกาสเข้าสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี และได้รับการยอมรับจากประชาชนทุกครั้ง จนทำให้มีโอกาสอยู่ในวงการเมืองได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน และ (1.3) ช่วงการสังกัดพรรคการเมือง หรือ เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง โดยผ่านการมีบทบาทหน้าที่นักการเมืองในสภา เช่น การเสนอกฎหมายต่าง ๆ การเสนอพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลป์ การเสนอพระราชบัญญัติประมง การยื่นคัดค้านจัดซื้อเรือประมง ทำให้ประหยัดงบประมาณและสามารถนำเงินที่เหลือสร้างพิพิธภัณฑ์ปลาจังหวัดภูเก็ต การยื่นญัตติอภิปรายในสภา และในทุกช่วงเวลาได้มีการดำเนินบทบาทนอกสภาควบคู่ไปด้วย นั่นคือ การร่วมงานประเพณีต่าง ๆ การไปร่วมงานบวช งานแต่ง งานศพของประชาชนในพื้นที่ และการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ (2) ช่วงดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบทบาทที่สำคัญคือ การตั้งกระทู้ถาม การยื่นญัตติในสภา การประสานงานทางการเมืองระดับชาติ บทบาทรัฐมนตรีที่สำคัญคือ การบริหารราชการแผ่นดินการเสนอกฎหมายนโยบายต่าง ๆ การผลักดันงบประมาณพัฒนาในพื้นที่ บทบาทรองนายกรัฐมนตรีที่สำคัญ คือ การกำกับดูแลหน่วยงานที่สำคัญ ๆ และการได้รับฉายาว่า "บัวในดงบอน" เป็นผลงานที่ได้ยอมรับว่าซื่อสัตย์สุจริต และบทบาทประธานรัฐสภาที่สำคัญคือตำแหน่งประธานรัฐสภา โดยใช้หลักความยืดหยุ่น ประนีประนอมบนพื้นแห่งเหตุและผล และความเป็นกลางทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125587.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons