Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10320
Title: วันเด็กกับการเมืองไทย
Other Titles: Children's Day and Thai politics
Authors: ยุทธพร อิสรชัย
สุภาภรณ์ วงษ์วิจารณ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
เด็กกับการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างวันเด็กกับการเมืองไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวันเด็กแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2498 จนถึงวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ เลือกนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ จำนวน 3 ท่าน จาก 3 หน่วยงาน ดังนี้ 1) คุณสุวรรณนา มงคลกาย ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กลุ่มงานสุนทรพจน์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2) พลเอกพีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กกร.สกร.กร.ทหารกรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ 3) คุณธัญพร มงคลการ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบตีความและนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า วันเด็กมีความสัมพันธ์กับการเมืองไทย คือ 1) คำขวัญวันเด็ก เพราะที่มา ขั้นตอน กระบวนการ ความเป็นมาของคำขวัญวันเด็ก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้น มาจากผู้นำหรือนายกรัฐมนตรี ที่สามารถบ่งบอกและสะท้อนได้ถึงความต้องการ หรือความคาดหวังของรัฐบาลที่มีต่อเด็กได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นกระแสหรือสภาพการณ์ทางสังคมในแต่ละยุคสมัยได้อีกด้วย 2) กิจกรรมวันเด็ก มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลหรืออำนาจรัฐ เพราะกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะยึดโครงสร้างของนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลนั้น ๆ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเด็ก ๆ ทิศทางหรือแนวโน้มมีทั้งที่เป็นการปลูกฝังความคิดที่สร้างสรรค์ สนุกสนาน ให้ความรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่า บทบาท หน้าที่ และความสำคัญของตนเอง และกิจกรรมที่มีแนวโน้มครอบงำความคิดของเด็กไทย ปลูกฝังอุดมกาณ์ชาตินิยม โดยรัฐบาลสอดแทรกความคิดอำนาจนิยมทำให้เด็ก ๆ ยอมรับในความคิด และอุดมการณ์ของรัฐ และนำอุดมการณ์นั้นไปพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งในค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10320
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129141.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons