กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10324
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยและผลกระทบทางการเมืองจากเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Contributing factors and political impact of the burning of the Udorn Thani Provincial town hall building |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรวลัญช์ โรจนพล สยาม จุตตะโน, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ความขัดแย้งทางสังคม--ไทย--อุดรธานี. ความขัดแย้งทางสังคม--แง่การเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (2) ผลกระทบทางการเมืองจากเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี การศึกษาวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) กลุ่มที่ 1 ประชาชนผู้ถูกจับกุมในคดีเผาศาลากลางจังหวัด และประชาชนทั่วไป จำนวน 12 คน (2) กลุ่มที่ 2 หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด อุดรธานี จำนวน 2 คน (3) กลุ่มที่ 3 นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 4 คน (4) กลุ่มที่ 4 สื่อสารมวลชน ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น การศึกษาเชิงคุณภาพ (Quanlitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือข้อมูลปฐมภูมิคือ การสัมภาษณ์ และข้อมูลทุติยภูมิคือการศึกษาเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานีประกอบด้วย (1.1) ความขัดแย้งทางการเมือง (1.2) การปฏิบัติการสลายการชุมนุมของทหาร(1.3) การสื่อสารทางการเมือง (1.4) ศาลากลางจังหวัดกับการเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจรัฐในส่วนภูมิภาค (2) ผลกระทบทางการเมืองจากเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (2.1) ผลกระทบเชิงบวกได้แก่ ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีมีความตื่นตัวทางทางการเมือง (2.2) ผลกระทบในเชิงลบ ได้แก่ (2.2.1) เพิ่มความแตกแยกทางการเมือง (2.2.2) การจำกัดสิทธิการสื่อสารทางการเมืองได้แก่ ด้านการนำเสนอข่าวสารทางการเมือง ด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ของประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10324 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
135801.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License