กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10325
ชื่อเรื่อง: | การก่อตัว การจัดตั้ง และการดำเนินงานของพรรคการเมืองใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Formation, establishment and operation of the new politics party |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข สรศักดิ์ สุขศิริ, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี พรรคการเมือง--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง พรรคการเมือง--ไทย--การบริหาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ และ (2) การดำเนินงานทางการเมืองและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองใหม่ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และศึกษา เอกสาร ประชากร คือ พรรคการเมืองใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 กลุ่ม คือ คณะผู้เสนอชื่อขอจัดตั้งพรรค จำนวน 3 คน คณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 3 คน สมาชิกพรรคระดับแกนนำ จำนวน 10 คน และ ผู้บริหารสาขาพรรค จำนวน 4 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 20 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) พรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นจากการก่อตัวหรือการรวมตัวกันของเครือข่ายขบวนการทางสังคมเพื่อต่อด้านการทุจริตคอรัปชั่นภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในนาม "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" โดยปัจจัยภายในที่ สำคัญที่มีผลต่อการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำและผู้ก่อตั้ง รองลงมาคือ ปัจจัย ด้านความคิดและอุดมการณ์ กล่าวคือสมาชิกกลุ่มพันธมิตรฯ มีความคิดและความเชื่อร่วมกันในการที่จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีแกนนำคนสำคัญเป็นผู้นำในการจัดตั้ง และปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ ด้านสภาพปัญหาของการเมืองไทย (2) การดำเนินงานทางการเมืองในการส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในคือ ผู้สมัครของ พรรคยังไม่เป็นที่รู้จักและขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และปัญหาภายนอกคือ ขาดการสนับสนุนจากประชาชน และประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความเชื่อถือพรรคการเมืองใหญ่ ปัจจัยภายในที่สำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองใหม่ คือ ปัจจัยด้านความคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนปัจจัยด้านผู้นำและผู้ก่อตั้ง นั้นกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าหากพรรคมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ พรรคก็ยังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปได้ถ้าความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10325 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
136678.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License