Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10344
Title: ข้อเท็จจริงและแง่มุมปัญหาเกี่ยวกับรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
Other Titles: Facts and facet of the 19th September 2006 coup d'etal
Authors: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาภัสรา พืชพันธ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
รัฐประหาร--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อเท็จจริงและแง่มุมปัญหาบางอย่างของการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 และ (2) ต้องการทราบถึงกระบวนการของการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผลการวิจัยพบว่า (1) การเมืองไทยอยู่ในสภาวะตึงเครียดจากสภาพการณ์ทางการเมือง เนื่องจาก การเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับฝ่าย ต่อต้าน คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มอื่น ๆ จากปัญหาการบริหารงานของรัฐบาลส่อไป ในทางเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้อง ปรากฏว่า ก่อนที่ทหารจะเข้ายึดอำนาจ กลุ่มพันธมิตร ฯ ออกแถลงการณ์จะจัดให้มีการชุมนุมครั้งใหญ่ขึ้นเพื่อกดตันให้นายกรัฐมนตรีลาออก ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ซึ่งทำให้บรรยากาศการเมืองตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ ผู้บัญชาการกองทัพบก มีคำสั่งให้ แม่ทัพภาคที่ 1 และ แม่ทัพภาคที่ 3 นำทหารเคลื่อนกำลังพลเข้าไปควบคุมพื้นที่จุดยุทธศาสตร์พร้อมประกาศยึดอำนาจ และ (2) กระบวนการของการ ทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ขั้นตอนเริ่มต้นก่อนการรัฐประหารได้มีการเริ่มต้นวางแผนเตรียมความพร้อม โดยมี ผบ.ทบ. เป็นแกนนำในการวางแผนทำรัฐประหาร โดยใช้บ้านเกษะโกมลเป็นที่วางแผนร่วมกับนายทหารคน สนิท เพื่อกำหนดเป้าหมาย หน่วยกำลัง สถานที่สำคัญทางราชการที่จะต้องเข้าควบคุม และมีแม่ทัพภาคที่1 เป็นฝ่าย วางแผนและคุมกำลังหลักที่จะเข้ายึดอำนาจ ด้านการควบคุมและสั่งการทำรัฐประหาร ผบ.ทบ. ใช้ศูนย์กองบัญชาการ กองทัพบกสำหรับสั่งการผู้บัญชาการเหล่าทัพ และหน่วยกำลังภายใต้บังคับบัญชา พร้อมมีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายอาวุธ ยุทโธปกรณ์ กำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ พร้อมอารักขาบุคคลสำคัญ ขั้นตอนระหว่างการรัฐประหาร โดย การปฏิบัติการใช้กองร้อยรบพิเศษ และกำลังทหารจากกองพันสารวัตร ดำเนินการควบคุมแกนนำสำคัญฝ่ายรัฐบาล และแกนนำเตรียมทหารรุ่น 10 จากนั้น ผบ.ทบ. ได้ประสานงานไปยัง ผบ.ทร. ผบ.ทอ. พร้อมทั้งองคมนตรี ได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เที่ยงเมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สำหรับ ผบ.ตร. เพียงแค่รับทราบ ขั้นตอนหลังการรัฐประหาร ในตอนเช้าวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ผบ.ทบ. และคณะ (ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.สส. และผบ.ตร.) ได้แถลงการณ์ ชี้แจงการเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล หลังแถลงการณ์ ยึดอำนาจของ คปค. ได้มีกลุ่มต่าง ๆ ออกมาเคลื่อนไหวต่อด้านการทำรัฐประหารในครั้งนี้ ส่งผลให้ คปค. ออก ประกาศและคำสั่งตามมาอีกหลายฉบับ และนำไปสู่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10344
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113336.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons