กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10344
ชื่อเรื่อง: ข้อเท็จจริงและแง่มุมปัญหาเกี่ยวกับรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Facts and facet of the 19th September 2006 coup d'etal
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข
อาภัสรา พืชพันธ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
รัฐประหาร--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อเท็จจริงและแง่มุมปัญหาบางอย่างของการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 และ (2) ต้องการทราบถึงกระบวนการของการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ แถลงการณ์ ประกาศเเละ คำสั่ง ของคณะปฏิรูปการปกตรองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปด.) หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ วารสาร นิดยสาร หนังสือพิมพ์ ข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ทางสื่ออินเทอร์เน็ต และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยการใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การเมืองไทยอยู่ในสภาวะตึงเครียดจากสภาพการณ์ทางการเมือง เนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับฝ่ายต่อต้าน คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มอื่น ๆ จากปัญหาการบริหารงานของรัฐบาลส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้อง ปรากฏว่า ก่อนที่ทหารจะเข้ายึดอำนาจ กลุ่มพันธมิตร ฯ ออกแถลงการณ์จะจัดให้มีการชุมนุมครั้งใหญ่ขึ้นเพื่อกดตันให้นายกรัฐมนตรีลาออก ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ซึ่งทำให้บรรยากาศการเมืองตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ ผู้บัญชาการกองทัพบก มีคำสั่งให้ แม่ทัพภาคที่ 1 และ แม่ทัพภาคที่ 3 นำทหารเคลื่อนกำลังพลเข้าไปควบคุมพื้นที่จุดยุทธศาสตร์พร้อมประกาศยึดอำนาจ และ (2) กระบวนการของการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ขั้นตอนเริ่มต้นก่อนการรัฐประหารได้มีการเริ่มต้นวางแผนเตรียมความพร้อมโดยมี ผบ.ทบ. เป็นแกนนำในการวางแผนทำรัฐประหาร โดยใช้บ้านเกษะโกมลเป็นที่วางแผนร่วมกับนายทหารคนสนิท เพื่อกำหนดเป้าหมาย หน่วยกำลัง สถานที่สำคัญทางราชการที่จะต้องเข้าควบคุม และมีแม่ทัพภาคที่1 เป็นฝ่ายวางแผนและคุมกำลังหลักที่จะเข้ายึดอำนาจ ด้านการควบคุมและสั่งการทำรัฐประหาร ผบ.ทบ. ใช้ศูนย์กองบัญชาการกองทัพบกสำหรับสั่งการผู้บัญชาการเหล่าทัพ และหน่วยกำลังภายใต้บังคับบัญชา พร้อมมีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ กำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ พร้อมอารักขาบุคคลสำคัญ ขั้นตอนระหว่างการรัฐประหาร โดย การปฏิบัติการใช้กองร้อยรบพิเศษ และกำลังทหารจากกองพันสารวัตร ดำเนินการควบคุมแกนนำสำคัญฝ่ายรัฐบาลและแกนนำเตรียมทหารรุ่น 10 จากนั้น ผบ.ทบ. ได้ประสานงานไปยัง ผบ.ทร. ผบ.ทอ. พร้อมทั้งองคมนตรี ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เที่ยงเมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สำหรับ ผบ.ตร. เพียงแค่รับทราบ ขั้นตอนหลังการรัฐประหาร ในตอนเช้าวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ผบ.ทบ. และคณะ (ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.สส. และผบ.ตร.) ได้แถลงการณ์ ชี้แจงการเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล หลังแถลงการณ์ ยึดอำนาจของ คปค. ได้มีกลุ่มต่าง ๆ ออกมาเคลื่อนไหวต่อด้านการทำรัฐประหารในครั้งนี้ ส่งผลให้ คปค. ออกประกาศและคำสั่งตามมาอีกหลายฉบับ และนำไปสู่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10344
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113336.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons