Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10351
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอาคม ภูสีฤทธิ์, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-11-09T03:38:38Z-
dc.date.available2023-11-09T03:38:38Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10351-
dc.description.abstractการจัดทำคู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีในการติดต่อธุรกิจกับชาวจีน (2) ศึกษากระบวนการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆสำหรับการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ซึ้งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์และข้อมูลทุติยภูมิโดยการรวบรวมจากหนังสือ ตำราวิชาการและเอกสารการทำงานของบริษัทเอ็นบีที นิวเจน (ประเทศไทย) จำกัด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และดัดแปลงเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินคู่มือเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผลการศึกษาได้เป็นเนื้อหาของคู่มือพบว่า (1) ขนบธรรมเนียมประเพณีในการติดต่อทางธุรกิจกับชาวจีนเป็นสิ่งแรกที่ต้องศึกษา ผู้ที่ต้องการดำเนินธุรกิจกับชาวจีนจะต้องทำการศึกษาถึงแนวคิดและวิธีปฏิบัติทางการค้ากับชาวจีน ซึ้งแนวคิดดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานหลักการ "กวนซี" ซึ่งมาจากภาษาจีนมีความหมายว่า "สายสัมพันธ์" ซึ่งเป็นหลักทางด้านการค้าสำหรับชาวจีนด้วยกันหรือชาวต่างประเทศกับชาวจีนซึ่งล้วนต้องอาศัยสายสัมพันธ์ในรูปแบบและระดับต่างๆทั้งสิ้น สายสัมพันธ์จะนำไปสู่ผลสำเร็จทางด้านการธุรกิจ นอกเหนือจากนั้นผู้ที่ติดต่อการค้าจะต้องศึกษาถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับการค้ากับชาวจีน เช่น การพบปะทางการค้า การเจรจาการค้า และการตกลงการค้ากับชาวจีน (2) กระบวนการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ทำการศึกษาถึงรายละเอียดและคุณลักษณะของชุดตรวจตั้งครรภ์ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกสินค้าและผู้ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกผู้ผลิตชุดตรวจตั้งครรถ์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน การคัดเลือกโรงงานผู้ผลิตและสินค้าที่สอดคล้องกับระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยโดยการเลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น อินเตอร์เน็ต งานแสดงสินค้าต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาข้อตกลงการค้าไทยจีน สำหรับชุดตรวจตั้งครรถ์ เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางการค้าในการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากจีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการชำระภาษีอากรขาเข้าและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ขั้นตอนที่ 4 การจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการจัดเตรียมเอกสารและสถานที่ให้ถูกต้องตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมศุลกากร ขั้นตอนที่ 5 การขอหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ ซึ่งเอกสารต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยเอกสารที่มาจากโรงงานผู้ผลิตซึ้งต้องตรวจสอบแล้วว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด อีกทั้งกระบวนขั้นตอนจัดเตรียมเอกสารในประเทศไทยเพื่อยื่นขออนุญาต ขั้นตอนที่ 6 เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ประกันภัยและการชำระเงินค่าสินค้าจีนเป็นการตกลงเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศที่เหมาะสม สำหรับชุดตรวจตั้งครรภ์เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยขั้นตอนที่ 7 การเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและบริการบริษัทชิปปิ้ง ซึ่งข้อมูลเทคนิคการคัดเลือกตัวแทนเพื่อทำการขนส่งและการดำเนินพิธีการศุลกากรเป็นสิ่งที่สำคัญต่อต้นทุนการนำเข้า หลังจากนั้นคู่มือได้ถูกประเมินทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความเห็นว่า คู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเหมาะสมมากที่สุดเพื่อจะนำไปใช้เป็นคู่มือของ บริษัท เอ็นบีที นิวเจน (ประเทศไทย) จำกัดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectครรภ์--การทดสอบth_TH
dc.subjectครรภ์--การทดสอบ--สินค้าเข้าth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleคู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนth_TH
dc.title.alternativeManual of import pregnancy test kit from Chinaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of drawing up manual of import pregnancy test kit from China are: (1) To study the Chinese business traditions and practices; (2) To study the procedures for importing pregnancy test kits from China. In this independent study, the primary data on the importing of pregnancy test kits were collected through interviews while the secondary data were compiled from books, academic texts and working documents of NBT NEWGEN (Thailand) Co., Ltd. These data were analyzed and modified into this manual of import pregnancy test kit from China . It was then submitted to authorities for a suitability evaluation. The findings of this study, which constitute the content of this handbook, are: (1) Chinese business traditions and practices are the first thing that people who intend to conduct business with Chinese businessmen must learn and understand. Chinese business traditions and practices are based on the principle of “Guanxi”, a Chinese term meaning “relationship or connection”. Business dealings among Chinese traders or between Chinese and foreign businessmen are carried out with consideration to the type and intensity of relationship or connection that business partners have formed with one another. Business success depends on such relationship. Interested business partners must also learn about other traderelated traditions and practices, such as business meetings, business negotiations and business agreements. (2) The procedures for importing pregnancy test kits from China include: Phase 1 – A study of the details and features of commonly produced and distributed pregnancy test kits from China. This information forms a basis for the selection of Chinese products and manufacturers. Phase 2 – Selection of Chinese pregnancy test kit products and manufacturers must comply with the regulations of the Food and Drug Administration of Thailand. Suitable products and manufacturers can be selected through various channels such as the Internet and trade exhibitions. Phase 3 – A study of Thai-Chinese trade agreements on trade preferences for the import of pregnancy test kits from China with specific references to taxes, tariffs and relevant trade preferences. Phase 4 – Registration of place of business for the import of pregnancy test kits with references to the preparation of documents and places of business in compliance with the regulations of the Food and Drug Administration and the Customs Department of Thailand. Phase 5 – Application for a certificate of importation of pregnancy test kits. Supplementary documents from the manufacturing plants which confirm that the test kits were checked and found to meet the standard criteria specified by the Food and Drug Administration. This phase also covers preparation of documents for a sale permit application in Thailand. Phase 6 – Chinese merchandise delivery, insurance and payment conditions. This phase involves suitable international trade agreements for the import of pregnancy test kits into Thailand. Phase 7 – Selection of international freight forwarders and shipping services. They are essential to the control of import costs. Once the handbook was completed it was submitted to authorities in different fields for evaluation. The authorities found the handbook to be most suitable for use by NBT NEWGEN (Thailand) Co., Ltden_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_134669.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons