กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10351
ชื่อเรื่อง: คู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manual of import pregnancy test kit from China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาคม ภูสีฤทธิ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครรภ์--การทดสอบ
ครรภ์--การทดสอบ--สินค้าเข้า
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การจัดทำคู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีในการติดต่อธุรกิจกับชาวจีน (2) ศึกษากระบวนการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆสำหรับการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ซึ้งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์และข้อมูลทุติยภูมิโดยการรวบรวมจากหนังสือ ตำราวิชาการและเอกสารการทำงานของบริษัทเอ็นบีที นิวเจน (ประเทศไทย) จำกัด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และดัดแปลงเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินคู่มือเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผลการศึกษาได้เป็นเนื้อหาของคู่มือพบว่า (1) ขนบธรรมเนียมประเพณีในการติดต่อทางธุรกิจกับชาวจีนเป็นสิ่งแรกที่ต้องศึกษา ผู้ที่ต้องการดำเนินธุรกิจกับชาวจีนจะต้องทำการศึกษาถึงแนวคิดและวิธีปฏิบัติทางการค้ากับชาวจีน ซึ้งแนวคิดดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานหลักการ "กวนซี" ซึ่งมาจากภาษาจีนมีความหมายว่า "สายสัมพันธ์" ซึ่งเป็นหลักทางด้านการค้าสำหรับชาวจีนด้วยกันหรือชาวต่างประเทศกับชาวจีนซึ่งล้วนต้องอาศัยสายสัมพันธ์ในรูปแบบและระดับต่างๆทั้งสิ้น สายสัมพันธ์จะนำไปสู่ผลสำเร็จทางด้านการธุรกิจ นอกเหนือจากนั้นผู้ที่ติดต่อการค้าจะต้องศึกษาถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับการค้ากับชาวจีน เช่น การพบปะทางการค้า การเจรจาการค้า และการตกลงการค้ากับชาวจีน (2) กระบวนการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ทำการศึกษาถึงรายละเอียดและคุณลักษณะของชุดตรวจตั้งครรภ์ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกสินค้าและผู้ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกผู้ผลิตชุดตรวจตั้งครรถ์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน การคัดเลือกโรงงานผู้ผลิตและสินค้าที่สอดคล้องกับระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยโดยการเลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น อินเตอร์เน็ต งานแสดงสินค้าต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาข้อตกลงการค้าไทยจีน สำหรับชุดตรวจตั้งครรถ์ เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางการค้าในการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากจีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการชำระภาษีอากรขาเข้าและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ขั้นตอนที่ 4 การจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการจัดเตรียมเอกสารและสถานที่ให้ถูกต้องตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมศุลกากร ขั้นตอนที่ 5 การขอหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์ ซึ่งเอกสารต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยเอกสารที่มาจากโรงงานผู้ผลิตซึ้งต้องตรวจสอบแล้วว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด อีกทั้งกระบวนขั้นตอนจัดเตรียมเอกสารในประเทศไทยเพื่อยื่นขออนุญาต ขั้นตอนที่ 6 เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ประกันภัยและการชำระเงินค่าสินค้าจีนเป็นการตกลงเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศที่เหมาะสม สำหรับชุดตรวจตั้งครรภ์เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยขั้นตอนที่ 7 การเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและบริการบริษัทชิปปิ้ง ซึ่งข้อมูลเทคนิคการคัดเลือกตัวแทนเพื่อทำการขนส่งและการดำเนินพิธีการศุลกากรเป็นสิ่งที่สำคัญต่อต้นทุนการนำเข้า หลังจากนั้นคู่มือได้ถูกประเมินทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความเห็นว่า คู่มือการนำเข้าชุดตรวจตั้งครรภ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเหมาะสมมากที่สุดเพื่อจะนำไปใช้เป็นคู่มือของ บริษัท เอ็นบีที นิวเจน (ประเทศไทย) จำกัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_134669.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons