Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10357
Title: ความคิดทางการเมืองของเซียไทยรัฐผ่านงานเขียนการ์ตูนการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2536-2554
Other Titles: Political idea by political cartoon of Sia Thairath from 1993-2011
Authors: ยุทธพร อิสรชัย
อนุวัต ใจเอิบอิ่ม, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การ์ตูนการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดทางการเมืองของเซีย ไทยรัฐ ที่สะท้อนผ่านงานเขียนการ์ตูน ในช่วง พ.ศ. 2536 - 2554 (2) เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองไทยที่เกี่ยวข้อง ในช่วง พ.ศ. 2536-2554 การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเซีย ไทยรัฐ นักเขียนการ์ตูนการเมือง หนักสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ ผลการวิจัยพบว่า (1) เซีย ไทยรัฐ มีความคิดทางการเมือง ในด้านการพัฒนา ความชอบธรรม ความขัดแย้ง รวมถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผ่านภาพการ์ตูนการเมือง สอดคล้องกับ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องและแนวคิดประชาธิปไตยของตน ด้วยระดับ การเห็นชอบ การวิจารณ์ติติง และการโจมตีต่อต้าน ต่อบริบทต่าง ๆ ทางการเมือง (2) บริบทที่เกิดขึ้นในทางการเมืองไทย ในช่วงพ.ศ. 2536 - 2554 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ (2.1) พ.ศ. 2536-2543 การเมืองที่มีรัฐบาลผสม ที่ไม่มีเสถียรภาพและไม่มีรัฐบาลใด ดำรงตำแหน่งได้ครบวาระ ซึ่งเซีย ไทยรัฐเห็นว่า แม้เป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ การทุจริตและไร้ความสามารถ ในการบริหาร ก็ไม่ช่วยให้คงอยู่ในตำแหน่งได้ (2.2) พ.ศ. 2544 - 2548 รัฐบาลผสม แต่มีความเข้มแข็งและเสถียรภาพมากขึ้น จนสามารถดำรงตำแหน่งครบวาระ ซึ้งเซีย ไทยรัฐ เห็นว่า ความเข้มแข็งและเสถียรภาพ จะช่วยด้านการพัฒนาประเทศ แต่ปัญหาทุจริตของรัฐบาลเองก็ต้องแก้ไข จัดการ (2.3) พ.ศ. 2549 - 2554 การเมืองหลังรัฐประหารพ.ศ. 2549 แม้จะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีเสถียรภาพจนสามารถดำรงตำแหน่งครบวาระถึง 2 รัฐบาล ภายใน แค่ช่วงพ.ศ.2551 และเกิดการเปลี่ยนขั้วการเมือง จัดตั้งรัฐบาลใหม่แทน โดยตั้งแต่รัฐประหารพ.ศ. 2549 รัฐบาลต่าง ๆ ต้องเผชิญกับปัญหา ข้อบทกฎหมายรัฐธรรมนูญ การต่อต้าน และความขัดแย้งทาการเมือง ที่ปรากฏอยู่เนือง ๆ เซียไทยรัฐ เห็นว่า การรัฐประหาร สร้างความถดถอยต่อประเทศทุกด้าน ผู้นำหรือรัฐบาลจากรัฐประหาร จะไม่มีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับจากประชาชน การนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย จะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10357
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129138.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons