Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณธรรม กาญจนสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorเอนก ปันทะยม, 2523-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-09T04:10:37Z-
dc.date.available2023-11-09T04:10:37Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10360en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจากัดของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 12 คน ประกอบด้วยข้าราชการส่วนภูมิภาค ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการ หมู่บ้าน และประชาชน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย (1) การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านมีความสามารถรองรับสนับสนุนการขยายตัวของการมีส่วนร่วมของประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบุคลิกภาพที่เอื้อต่อแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ที่เน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทาระเบียบข้อบังคับหมู่บ้าน กระบวนการตัดสินใจดาเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านยังมีการแบ่งโครงสร้างการปกครองหมู่บ้านให้มีความแตกต่างตามความสามารถ โดยอาศัยกลไกคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีการแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของคณะทางานด้านต่างๆ เช่น คณะทางานด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข คณะทำงานด้านแผนพัฒนา เป็นต้น และที่สาคัญผู้ใหญ่บ้านยังส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาควบคุม กำกับและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านโดยผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน กระบวนการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและยังคิดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของผู้นำหมู่บ้าน และที่สำคัญผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกของประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านส่งผลต่อความสัมพันธ์และ มีผลกระทบในเชิงลบบนพื้นฐานระบบอุปถัมภ์ ตลอดจนประชาชนยังให้ความสาคัญกับการทำมาหากินมากกว่าเรื่องการเมืองการปกครอง และขาดความต่อเนื่องในการได้รับความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง (3) แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านต้องกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการหมู่บ้านในทุกๆ ด้าน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านในการตอบสนองความต้องการของประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพ และต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ เข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาและสร้างความมั่นคงด้านรายได้และอาชีพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectประชาธิปไตยth_TH
dc.subjectผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมืองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย : กรณีศึกษาบ้านกิ่วป่าห้า ตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeVillage headman and the development of democracy : a case study of Baan Kiwbaha, Tambol Thuemtong Meuang District, Nan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) to study the role of the village headman in developing democratic politics; (2) to study problems with that role and obstacles faced by the village headman; and (3) to form recommendations for solving those problems and increasing the capacity of village headmen to develop democracy. This was a qualitative study. The 12 key informants, chosen through purposive sampling, comprised regional level government officers, local administrators, local level government officers, kamnan, village headmen, neighborhood committee members, and local citizens. Data were collected using interview forms and analyzed descriptively. The results showed that (1) the village headman in the case study had a good ability to support the expansion of public participation in politics, especially in terms of having a personality that fit well with the role of encouraging citizens to participate in the process of setting rules for the village and the process of making decisions on village development projects and activities, with an emphasis on equality. The village headman divided administrative work depending on different people’s abilities by assigning working teams within the neighborhood committee to be in charge of different tasks, such as a working team in charge of social, environmental and public health issues, and another working team in charge of the development plan. Most importantly, the village headman studied encouraged citizens to monitor, audit and manage his work through a variety of formal and informal channels, such as holding meetings every month and utilizing the legal inspection methods. (2) One of the problems encountered in the village headman’s effort to promote democracy was a lack of enthusiasm on the part of citizens to participate in village administration because they considered it the duty of village leaders. Also, the village headman was related to many of the villagers and was voted for by a majority, but public auditing of his work had a negative effect on patronage relationships. Most villagers were more concerned with making a living than with participating in local government and they did not consistently receive information about democractic politics. (3) To address these problems, village headmen should stimulate the public to participate in every aspect of village management. The capacity of village headmen to efficiently meet the needs of different groups should be developed. Efforts should be made to educate the public on participatory democratic politics at the same time as developing and building up their financial security.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132843.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons