กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10360
ชื่อเรื่อง: ผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย : กรณีศึกษาบ้านกิ่วป่าห้า ตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The village headman and the development of democracy : a case study of Baan Kiwbaha, Tambol Thuemtong Meuang District, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอนก ปันทะยม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประชาธิปไตย
ผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจากัดของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย ผลการวิจัย (1) การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านมีความสามารถรองรับสนับสนุนการขยายตัวของการมีส่วนร่วมของประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบุคลิกภาพที่เอื้อต่อแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ที่เน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทาระเบียบข้อบังคับหมู่บ้าน กระบวนการตัดสินใจดาเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านที่ให้ความสาคัญกับเรื่องความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านยังมีการแบ่งโครงสร้างการปกครองหมู่บ้านให้มีความแตกต่างตามความสามารถ โดยอาศัยกลไกคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีการแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของคณะทางานด้านต่างๆ เช่น คณะทางานด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข คณะทางานด้านแผนพัฒนา เป็นต้น และที่สาคัญผู้ใหญ่บ้านยังส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาควบคุม กากับและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านโดยผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมประจาเดือนหมู่บ้าน กระบวนการตรวจสอบตามที่กฎหมายกาหนด เป็นต้น (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อจากัดของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและยังคิดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของผู้นาหมู่บ้าน และที่สาคัญผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกของประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านส่งผลต่อความสัมพันธ์และ มีผลกระทบในเชิงลบบนพื้นฐานระบบอุปถัมภ์ ตลอดจนประชาชนยังให้ความสาคัญกับการทามาหากินมากกว่าเรื่องการเมืองการปกครอง และขาดความต่อเนื่องในการได้รับความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง (3) แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านต้องกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการหมู่บ้านในทุกๆ ด้าน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้านในการตอบสนองความต้องการของประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพ และต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ เข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาและสร้างความมั่นคงด้านรายได้และอาชีพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10360
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
132843.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons