กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10367
ชื่อเรื่อง: บทบาทและความคิดเห็นทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political role and though in democracy of official at Chachoengsao Central Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนิรุทธ์ ยศยิ่งยง, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา--พนักงาน--กิจกรรมทางการเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลาง ฉะเชิงเทรา (2) เพื่อศึกษาความคิดทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลาง ฉะเชิงเทรา ด้านสิทธิ ด้านเสรีภาพ ด้านความเสมอภาค ด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และด้านการมีส่วนร่วมทางการ เมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ จำนวน 86 คน และสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกเฉพาะเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า (1) เจ้าหน้าที่เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การเมืองอยู่ในระดับมาก การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และพฤติกรรมการใช้สิทธิทางการเมืองอยู่ในระดับ ปานกลาง (2) ด้านสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระดับประเทศทุกครั้ง (3) ด้าน เสรีภาพ ส่วนใหญ่เห็นว่าการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ จะมีการพกพาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุม และสร้าง ความเดือดร้อนให้กับประชาชน กลุ่มตัวอย่างไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมประท้วงกับกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ (4) ด้านความ เสมอภาค ส่วนใหญ่เห็นว่าบุคคลมีความเสมอภาคไม่เท่ากัน เนื่องจากความแตกต่างระหว่างความยากจนกับความ ร่ำรวย (5) ด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนใหญ่ก่อนมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การ ปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง มีบางครั้งที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง (6) ด้าน การมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่วนใหญ่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สังเกตการณ์นับคะแนนเสียง การสนทนาหรือ วิจารณ์พรรคการเมืองหรือนักการเมือง และการรับฟังการปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการคุ้มครองสิทธิ ส่งเสริม ขยายสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนที่ถูกต้อง ควรมีแผนเชิงรุกในการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน มีการกำหนดแรงจูงใจ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง มากยิ่งขึ้น มีมาตรการอย่างเข้มงวดสำหรับผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมในการพกพาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุมทางการเมือง ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ เป็นระยะๆ สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนได้เข้าเป็นสมาชิกพรรค การเมือง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10367
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138425.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons