กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10372
ชื่อเรื่อง: ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีวิชางานช่าง เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Experience-based instructional packages in the career and technology learning area on the topic of design and practice of woodworks for Mathayom Suksa II students in Uthai Thani Educational Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพฑูรย์ ทองทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิธร แก้วอุดร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
งานไม้
กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 (2) ศึกษาความก้าว หน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความ คิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความเหมาะสมของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของชุดการสอน คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 39 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุด การสอนอิงประสบการณ์ เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วย ประสบการณ์ที่ 8 การเขียนแบบงานไม้ หน่วยประสบการณ์ที่ 9 การปฏิบัติงานไม้ และหน่วย ประสบการณ์ที่ 14 การเคลือบผิวงานไม้ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการเผชิญประสบ การณ์เป็นแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิง ประสบการณ์ การเก็บรวบรวม ข้อมูลเพื่อนำไปหาประสิทธิภาพโดยทดลองเบื้องต้น 3 ขั้นตอนคือ แบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าประสิทธิภาพของ ชุดการสอน E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์มีประสิทธิภาพตามลำดับ ดังนี้ 80.60/81.23, 79.29/80.15 และ 81.78/80.65 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ผู้เรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความ ก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผู้เรียนมีความคิดเห็น เกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10372
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons