Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10375
Title: บทบาทจริงและบทบาทคาดหวังของสมาชิกสภาเทศบาลในทัศนะของผู้นำชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
Other Titles: Actual roles and expected roles of municipal council members: a case study Tambon Phato Municipality, Phato District, Chumphon
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวี พรหมทอง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมาชิกสภาเทศบาล
บทบาทที่คาดหวัง
ผู้นำชุมชน--ทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทจริงและบทบาทที่คาดหวังของกลุ่มตัวอย่างที่ มีต่อสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาท จริงและบทบาทที่คาดหวังของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทจริงและบทบาทที่คาดหวังของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ผลการศึกษาพบว่า บทบาทจริงของสมาชิก คือ 1) เป็นตัวแทนของประชาชนในการพัฒนาตำบลทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพื่อเสนอปัญหา ความต้องการของประชาชนต่อที่ประชุมสภา 2) ด้านนิติบัญญัติ จะต้องร่วมกำหนด และร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติ อนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3) การ ตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้เพื่อสอบถามผู้บริหารเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือนโยบาย ในขณะที่บทบาทที่ คาดหวังของสมาชิก คือ 1) การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยส่งเสริมด้านการพาณิชย์ และการลงทุน 2) การหางบประมาณซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่ชำรุด และดำเนินการต่อเติมสาธารณูปโภคที่ ดำเนินการค้างอยู่ให้ต่อเนื่อง 3) ส่งเสริม ตำบลพะโต๊ะ ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น มีระเบียบวินัย เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามี ส่วนร่วม มีความสามัคคี และมีความเสมอภาค 4) การเสนอแผนพัฒนาชุมชนที่ตรงตามความต้องการของชุมชน ไม่ติดยึดกับแนวทางเดิมๆ 5) ลดงบประมาณรายจ่ายในส่วนการศึกษาดูงาน และเพิ่มส่วนของการพัฒนาบุคคล 6) เสนอข้อบัญญัติที่ดีมีสาระ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และ 7) มีการอภิปราย และการติดตามตรวจสอบ กระบวนการทำงานของฝ่ายบริหาร และเป็นตัวแทนเพื่อสะท้อนปัญหา ความต้องการของประชาชน จาก การศึกษายังพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทจริงและบทบาทที่คาดหวังของสมาชิกคือ ไม่ขยันศึกษา ความรู้เกี่ยวกับบทบาทตนเอง ปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้าน การบริหารงานทั้งระบบของเทศบาล ไม่กล้าคิด ไม่ กล้าให้ความคิดเห็น และไม่กล้าตัดสินใจ แนวทางแก้ไข คือ การสนับสนุนให้สมาชิกได้ทำงานร่วมกัน ระหว่าง การปฏิบัติงาน สมาชิกทุกคนจะต้องมีโอกาสได้พูดคุยถึงปัญหา และอุปสรรคของแต่ละคน รวมทั้งช่วยกันหาทาง ออก สมาชิกควรมีวุฒิการศึกษาอย่างน้อยระดับอนุปริญญา และการทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารจะต้องสร้างบรรทัด ฐาน สร้างความเป็นเอกภาพของสมาชิก และจะต้องรู้หน้าที่ และบทบาทของตัวเองเป็นอย่างดี โดยสมาชิก นายกเทศมนตรี ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนต้องร่วมกันกำหนดทิศทางในการทำงานให้เป็นไปในทางเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10375
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143422.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons