Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10378
Title: | บทบาททางการเมืองของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา กรุงเทพมหานครที่คณะกรรมการการเลือกตั้งให้การรับรอง : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Political role of canvassers for candidates running for Bangkok City council who were certifide by the election Committee : a case study of Bangkok Voting District 11 |
Authors: | เสนีย์ คำสุข อัจฉราภา จิระภคธร, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร--การเลือกตั้ง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร (2) บทบาทที่นอกเหนือจากการเลือกตั้งแต่เกี่ยวโยงมาสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร และ (3) ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการแสดงบทบาททางการเมืองของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบการวิจัยเอกสาร กลุ่มตัวอย่าง 20 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน ผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับแกนนำ จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง แบบเก็บข้อมูลจากเอกสาร และแบบบันทึกจากการสังเกต แบบมีส่วนร่วม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งให้การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งคือการประชาสัมพันธ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งในทางหลักการ บทบาทสำรวจข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่นที่จะมีผลต่อการเลือกตั้ง การรักษาฐานคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง บทบาทรณรงค์หาเสียง และบทบาทดำเนินการร้องเรียนคู่แข่งทางการเมืองทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง (2) ผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งมีพฤติกรรมนอกเหนือจากการเลือกตั้งแต่เกี่ยวโยงมาสู่การเลือกตั้ง การรับเชิญไปเป็นประธานในพิธีต่างๆ และบทบาทที่ไม่เปิดเผยได้แก่การให้กู้เงิน การเร่งรัดให้มีการก่อสร้างสาธารณูปโภค และการฝากนักเรียนเข้าศึกษาในสถานศึกษา (3) ปัญหาอุปสรรคของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้แก่ คู่แข่งทางการเมืองเพ่งเล็งการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และผู้สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามข่มขู่และใส่ร้ายทางการเมือง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10378 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144678.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License