กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10379
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สาระเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง การสร้างงานศิลปะบนสไลด์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of experience-based instructional packages in information technology on creating artworks for slide presentation with Microsoft PowerPoint for Mathayom Suksa III students in Sakon Nakhon Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิศ ภู่ศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา จวนสาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ศิลปะ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ศิลปะ--แบบเรียนสำเร็จรูป
ศิลปะ--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สาระเทคโนโลยี สารสนเทศ เรื่องการสร้างงานศิลปะบนสไลด์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 (2) ศึกษา ความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่ เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 2 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2/2550 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์สาระเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการสร้างงานศิลปะบนสไลด์ ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การจัดทำ สไลด์แนะนำโรงเรียนด้วยข้อความศิลป์โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ หน่วยประสบการณ์ที่ 9 การ จัดทำสไลด์แนะนำจังหวัดสกลนครประกอบภาพโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ และหน่วย ประสบการณ์ที่ 10 การจัดทำแผนผังจังหวัดสกลนครด้วยรูปวาด โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยท์ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่ มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, การทดสอบ ค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์มี ประสิทธิภาพ ดังนี้ 67.52/71.90, 67.62/72.10 และ 67.62/72.10 เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ตามลำดับ (2) นักเรียนที่ เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความคิดเห็นต่อชุดการสอน แบบอิงประสบการณ์อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10379
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons