กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10380
ชื่อเรื่อง: | วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไต (ไทใหญ่) ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political culture of Shan's (Tai Yai) in Meahongson Municpality Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รุ่งพงษ์ ชัยนาม ฐานันดร พรหมปัญญา, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี วัฒนธรรมทางการเมือง ชาวไต--ไทย--กิจกรรมทางการเมือง. ชาวไต--ไทย--แม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของชาวไต (ไทใหญ่) ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (2) พัฒนาการทางการเมืองของชาวไต (ไทใหญ่)ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (3) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวไต (ไทใหญ่) ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (4) แนวโน้มทางการเมืองของชาวไต(ไทใหญ่)ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน 21 คน ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น) จำนวน 3 คน และคณะกรรมการชุมชน (ป๊อก) ทั้งหมด 6 ชุมชน (ป๊อก) ชุมชน (ป๊อก) ละ 3 คน จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลของการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไต (ไทใหญ่) ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนแต่เดิมเป็นแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมจำกัดวงแคบกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่ขาดความสำนึกทาง การเมือง ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นสังคมแบบจารีตประเพณีมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายต่อมามีพัฒนาการทางการเมือง จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ซึ่งประชากรได้เข้ามามีส่วนร่วมและเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง มีจิตสำนึกทางการเมือง มีความสนใจทางการเมือง และเข้ามามีบทบาททางการเมือง ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนทางการเมืองคือการรุกล้ำวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นอื่น ส่วนแนวโน้มวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไต(ไทใหญ่) เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10380 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
144682.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License