กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10384
ชื่อเรื่อง: กีฬาวัวชนกับการสร้างโลกทัศน์ทางการเมืองของคนพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bull fighting sport and creating political worldview of Phatthalung People
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล  มุกดารัศมี
อรรถพงษ์ อยู่เกตุ, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชนวัว--ไทย--พัทลุง
พัทลุง--การเมืองและการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโลกทัศน์ทางการเมืองของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวัวชน (2) ศึกษาถึงอิทธิพลและผลกระทบของกีฬาวัวชนที่มีต่อการสร้างโลกทัศน์ทางการเมืองของคนจังหวัดพัทลุงที่เกี่ยวข้องกับวัวชน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย คือ นายสนามวัวชนบ้านท่ามิหรำอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จำนวน 1 คน ผู้เลี้ยงวัวชน จำนวน 12 คน นักการเมืองในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 คน รวมจำนวน 23 คน วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) โลกทัศน์ทางการเมืองของคนที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวัวชน คือ โลกทัศน์ทางการเมือง ในลักษณ์อุปถัมภ์ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่มคนเลี้ยงวัวชน ชอบเป็นผู้นำ ทำตัวเป็นผู้มีอำนาจ บารมี และอิทธิพล เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ คือ เป็นผู้ให้ในสังคม ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานราชการที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างลงตัว และเป็นผู้รับในลักษณะของการพึ่งพา อิงอาศัยฐานอำนาจที่เหนือกว่า (2) กีฬาวัวชนมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการสร้างโลกทัศน์ทางการเมืองของคนจังหวัดพัทลุงที่เกี่ยวข้องกับวัวชน คือ สังคมวัวชนเป็นสังคมระบบอุปถัมภ์ ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ไม่คอยกล้าแสดงออกทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ การไปเลือกตั้งตามที่เถ้าแก่หรือพรรคพวกร้องขอ ซึ่งเป็นระบบที่เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากกีฬาวัวชนก่อให้เกิดค่านิยมในการเล่นพรรคเล่นพวก สร้างพฤติกรรมทางการเมืองแบบพึงพาอาศัยอย่างชัดเจนในลักษณะ "ขอให้ ไหว้รับ บุญคุณต้องทดแทน" มีการใช้อำนาจบารมีชี้นำทางการเมือง ส่งผลให้ขาดวิจารณญาณในการลงคะแนนเสียง และมองข้ามคุณสมบัติของผู้สมัคร ขอเพียงเป็นคนที่นายหัว สนับสนุนก็พอ ส่งผลให้เกิดระบบการเมืองแบบใต้สังกัด (Subjective political culture) ซึ่งขัดกับระบอบประชาธิปไตย ที่เน้นสิทธิเสรีภาพ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจทางการเมืองของปัจเจกบุคคล จากค่านิยมดังกล่าวส่งผลให้นักการเมืองเข้ามาใช้ศักยภาพของกีฬาวัวชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองด้วยการสร้างความเป็นพวกเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10384
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148384.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons