Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10384
Title: กีฬาวัวชนกับการสร้างโลกทัศน์ทางการเมืองของคนพัทลุง
Other Titles: Bull fighting sport and creating political worldview of Phatthalung People
Authors: พิศาล  มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรถพงษ์ อยู่เกตุ, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชนวัว--ไทย--พัทลุง
พัทลุง--การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโลกทัศน์ทางการเมืองของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง กับกีฬาวัวชน (2) ศึกษาถึงอิทธิพลและผลกระทบของกีฬาวัวชนที่มีต่อการสร้างโลกทัศน์ทางการเมือง ของคนจังหวัดพัทลุงที่เกี่ยวข้องกับวัวชน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย คือ นายสนามวัวชนบ้านท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จำนวน 1 คน ผู้เลี้ยงวัวชน จำนวน 12 คน นักการเมืองในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 คน รวมจำนวน 23 คน วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) โลกทัศน์ทางการเมืองของคนที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวัวชน คือ โลก ทัศน์ทางการเมือง ในลักษณ์อุปถัมภ์ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่มคนเลี้ยงวัวชน ชอบเป็นผู้นำ ทำ ตัวเป็นผู้มีอำนาจ บารมี และอิทธิพล เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ คือ เป็นผู้ให้ในสังคม ชุมชน ตลอดจน หน่วยงานราชการที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างลงตัว และเป็นผู้รับในลักษณะของการพึ่งพา อิงอาศัยฐานอำนาจที่เหนือกว่า (2) กีฬาวัวชนมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการสร้างโลกทัศน์ทาง การเมืองของคนจังหวัดพัทลุงที่เกี่ยวข้องกับวัวชน คือ สังคมวัวชนเป็นสังคมระบบอุปถัมภ์ ส่งผลให้ คนกลุ่มนี้ไม่คอยกล้าแสดงออกทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ การไปเลือกตั้งตามที่ เถ้าแก่หรือพรรคพวกร้องขอ ซึ่งเป็นระบบที่เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากกีฬาวัวชน ก่อให้เกิดค่านิยมในการเล่นพรรคเล่นพวก สร้างพฤติกรรมทางการเมืองแบบพึงพาอาศัยอย่างชัดเจน ในลักษณะ "ขอให้ ไหว้รับ บุญคุณต้องทดแทน" มีการใช้อำนาจบารมีชี้นำทางการเมือง ส่งผลให้ ขาดวิจารณญาณในการลงคะแนนเสียง และมองข้ามคุณสมบัติของผู้สมัคร ขอเพียงเป็นคนที่นายหัว สนับสนุนก็พอ ส่งผลให้เกิดระบบการเมืองแบบใต้สังกัด (Subjective political culture) ซึ่งขัดกับ ระบอบประชาธิปไตย ที่เน้นสิทธิเสรีภาพ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจทางการเมืองของปัจเจก บุคคล จากค่านิยมดังกล่าวส่งผลให้นักการเมืองเข้ามาใช้ศักยภาพของกีฬาวัวชนในการแสวงหา ผลประโยชน์ทางการเมืองด้วยการสร้างความเป็นพวกเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10384
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148384.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons