กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10386
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2556 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Role of the Local Elections Commission : a case study of the Mayoral Election in the Ubon Ratchathani City Municipality on 24th March 2013 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล ดิเรก บวรสกุลเจริญ, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี นายกเทศมนตรี--การเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง--ไทย--อุบลราชธานี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2556 (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินบทบาทคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2556 (3) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขบทบาทคณะกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2556 วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง คือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 3 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการการเลือกตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ในคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลโดยการ บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถื่นได้ดำเนินตามบทบาท ในมาตรา 21ของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พุทธศักราช 2545 (2) ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถื่นได้แก่ 1) รูปแบบในการคัดเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีความหลากหลายของอาชีพ 2) ระบบการบริหารยังรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลาง และอาจตกอยู่ในอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่น 3) ประชาชนบางกลุ่มหรือบางคนยังยึดติดกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผู้สมัครเลือกตั้ง คือเงินไม่มากาไม่เป็น 4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มไม่ค่อยสนใจการเลือกตั้ง 5) การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้งของราชการยังไม่เต็มที่เท่าที่ควร (3) ข้อเสนอแนะ 1) การเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นต้องพิจารณาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความหลากหลายในอาชีพ 2) รัฐต้องสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้งอย่างเพียงพอ 3) ควรกระจายเพิ่มบทบาทของการกำกับดูแลคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นให้มากขึ้น 4) ควรมีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งทุกครั้งเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อช่วยป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง 5) อบรมสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการเลือกตั้งเป็นประจำและผลกระทบของการซื้อสิทธิ ขายเสียง และ 6) ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในทีวีหรือทางอินเตอร์เน็ต หรือช่องทางอื่นๆที่ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและถูกต้อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10386 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148714.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License