กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10387
ชื่อเรื่อง: การประเมินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of knowledge and experience equating and transfers of vocational education colleges in Kamphaeng Phet Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑารัตน์ เนวะมาตย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร.--การประเมิน
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี.--การประเมิน
วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร.--การประเมิน
วิทยาลัยการอาชีพขาณุวรลักษณ์บุรี--การประเมิน
วิทยาลัยการอาชีพ--การประเมิน.--ไทย--กำแพงเพชร
การศึกษาทางอาชีพ--การประเมิน.--ไทย--กำแพงเพชร
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมของปัจจัยในการดำเนินงาน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร (2) ประเมินกระบวนการดำเนินงานการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของวิทยาลัยสังกัด อาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร และ (3) ประเมินผลการดำเนินงานการเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์ของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์ จำนวน 28 คน และนักเรียน นักศึกษาที่เข้ารับการเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์ รวม 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร มีความพร้อมของ ปัจจัยในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ด้านกระบวนการ ดำเนินงานมีการปฏิบัติในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และนักเรียน นักศึกษา มีปัญหา อุปสรรคในด้านงบประมาณ ได้แก่ การจัดงบประมาณในการดำเนินงานด้านการเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์ไม่เพียงพอ ด้านบุคลากรไม่มีบุคลากรที่รับผิดชอบงานเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์โดยตรง ด้านวัสดุอุปกรณ์ ไม่มีเอกสาร/คู่มือการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ของนักเรียน นักศึกษา การประชาสัมพันธ์การสมัครเข้ารับการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ไม่ทั่วถึง และ (3) ผลการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ มีนักเรียน นักศึกษาเข้ารับการเทียบ โอนความรู้และประสบการณ์ผ่านเกณฑ์การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์และมีความพึงพอใจ ในการเข้ารับการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons